ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.65 อ่อนค่าจากช่วงเช้า ตลาดรอปัจจัยใหม่ จับตาเฟดแถลงนโยบายต่อสภาคองเกรส

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 16, 2023 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.65 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 34.59 - 34.71 บาท/ดอลลาร์ ตามทิศทางตลาดโลก ขณะที่ภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง เนื่องจากตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามา โดยกลางสัปดาห์หน้าประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมี การแถลงนโยบายต่อสภาคองเกรส

"บาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า โดยเคลื่อนไหวไปตามทิศทางตลาดโลก ตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามาเพิ่มเติม" นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 34.55 - 34.75 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดสหรัฐ และตลาดอังกฤษปิดทำการ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 141.03 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 140.17 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0945 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0944 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,559.39 จุด เพิ่มขึ้น 1.68 จุด, +0.11% มูลค่าการซื้อขาย 58,425.33 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,270.13 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ประธาน กกต.ยันรับรอง ส.ส.ได้เร็วกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 62 โดยสัปดาห์หน้าจะมีการพิจารณาต่อ หากมีข้อมูลเพียงพอ
ก็สามารถที่จะประกาศรับรองผลให้ได้อย่างน้อย 95% แต่ถ้าข้อมูลครบถ้วนก็จะสามารถประกาศให้ได้ครบ 100%
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และ
คงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve control program) รวมทั้งคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น
ประเภทอายุ 10 ปีไว้ที่ราวระดับ 0%
  • ธนาคารยูบีเอส, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด, ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา และธนาคารเจพีมอร์แกน ปรับลดคาด
การณ์การเติบโตของ GDP ของจีนจะอยู่ระหว่าง 5.2%-5.7% ในปีนี้ ซึ่งลดลงจากการคาดการณ์เดิมที่ 5.7%-6.3% หลังจีนเปิดเผยข้อมูล
เศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงข้อมูลภาคอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะธนาคารกลางยุโรป (ECB) ควรเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
เพื่อฉุดให้เงินเฟ้อลดลง และรัฐบาลในยูโรโซนควรลดยอดขาดดุลงบประมาณเพื่อช่วยลดเงินเฟ้ออีกแรงหนึ่ง ซึ่งการลดยอดขาดดุลงบ
ประมาณจะช่วยบรรเทาแรงกดดันทางการคลังในภายหลังได้อีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ