ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.23/25 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า กังวลเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 23, 2023 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.23/25 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดช่วง เช้าอยู่ที่ระดับ 35.19 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 34.06 - 35.28 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคอ่อนค่า จากการปรับลงของราคาทองคำ และแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง สหรัฐฯ (เฟด) ที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ค่อนข้างหนักแน่นในการพยายามทำให้เงินเฟ้อลดลง

"เงินบาทปิดตลาดวันนี้ อยู่ในระดับอ่อนค่าใกล้เคียงกับช่วงเดือนก.พ. 66" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ประมาณการดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-บริการ ของทั่วโลกซึ่งล่าสุดฝั่ง ยุโรปเริ่มทยอยเปิดเผยออกมาบ้างแล้ว โดยส่วนใหญ่ออกมาแย่หรือต่ำกว่าคาด ส่งผลให้สกุลเงินยูโรน่าจะปรับตัวลงค่อนข้างมาก

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 35.00 - 35.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 143.14 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 142.87 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0856 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0947 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,505.52 จุด ลดลง 3.79 จุด (-0.25%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 33,567 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 638.77 ลบ. (SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ วิเคราะห์การเติบโตของเศรษฐกิจไทย พบยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เป็นประเด็นความท้าทายของ
ประเทศ ชี้การเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล สังคมสูงอายุ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นปัจจัยท้าทายที่ทำให้
เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น แนะรัฐ เอกชน และภาคประชาชน ร่วมมือกันเตรียมพร้อมและรับมือกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ
  • ธนาคารโลก เปิดเผยในรายงานประเมินรายได้และรายจ่ายสาธารณะของไทยประจำเดือนมิ.ย.ว่า ไทยกลายเป็นที่รู้จัก
ในระดับสากลจากความสำเร็จของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการพัฒนาสุขภาพ โดย 98% ของประชากรไทยทั้งสิ้น 67 ล้านคน
ในปี 2564 ได้รับความคุ้มครองจาก 1 ใน 3 ระบบประกันสุขภาพสาธารณะ
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ คาดการณ์ว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยนั้นลดน้อยลง แต่
ความพยายามในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อนั้นอาจเป็นสิ่งที่ต้องแลกมาด้วยการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ของญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. ปรับตัว
ขึ้น 3.2% เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจากเดือนเม.ย. แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางที่ระดับ 2% เป็นเดือนที่ 14 ติดต่อ
กัน
  • เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยในวันนี้ว่า กิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนแทบจะหยุดชะงักในเดือนมิ.ย. เนื่องจากภาคการ
ผลิตหดตัวลงรุนแรงขึ้น ขณะที่กิจกรรมภาคบริการขยายตัวเพียงเล็กน้อย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการขั้นต้น
จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB) ที่รวบรวมโดยเอสแอนด์พี โกลบอล ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 50.3 ใน
เดือนมิ.ย. จากระดับ 52.8 ในเดือนพ.ค.
  • ผลสำรวจของเอสแอนด์พี โกลบอล (S&P) เปิดเผยในวันนี้ (23 มิ.ย.) ว่า เศรษฐกิจอังกฤษส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือน
นี้ แต่แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงสูง หนึ่งวันหลังธนาคารอังกฤษ (BOE) เพิ่งประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ พร้อมระบุว่า อังกฤษพร้อม
ที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ