ธนาคารโลก (World Bank) เปิดรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.66 ปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ (GDP) ในปี 66 เพิ่มเป็น 3.9% จากเดิม 3.6% ที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือน เม.ย.66 โมเมนตัมการฟื้นตัวจะแข็งแกร่งขึ้น จากที่ขยายตัว 2.6% ในปี 65 โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวก่อนที่จะชะลอลงในระยะข้างหน้าจากผลกระทบเศรษฐกิจ โลก รวมถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งเกินคาดจากจีนมีส่วนช่วยสนับสนุนด้วย ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวเนื่องจากอุปสงค์ที่ลดลงใน ประเทศเศรษฐกิจหลัก
หลังจากการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวในปี 65 จากการเปิดประเทศ ในปีนี้จะชะลอตัวลงบ้าง แต่ก็ถือว่ายังคง แข็งแกร่ง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและดีขึ้นของตลาดแรงงานและความต้องการท่องเที่ยวจากจีนที่เพิ่มขึ้นอย่าง แข็งแกร่งจากที่อั้นมานาน แต่การลงทุนภาครัฐจะยังคงอ่อนแอเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลใหม่ใช้เวลานาน
ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 67 และ 68 คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.6% และ 3.4% ตามลำดับ โดยการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ขณะที่อุปสงค์ภายนอกอ่อนตัวลง สำหรับศักยภาพการเติบโตในระยะยาวอยู่ที่ประมาณ 3% ซึ่งชะลอลงจากกว่า 3.6% ในช่วงปี 53-62
ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะกลับมาเกินดุลในปี 66 ที่ 2.5% ของ GDP จากการค้าทั้งสินค้าและบริการ หลังจากที่ขาดดุลตลอด ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าแนวโน้มการส่งออกสินค้าจะยังคงชะลอตัว แต่มูลค่าการนำเข้าที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เริ่มผ่อนคลาย ลงจะส่งผลให้การเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและค่าขนส่งที่เริ่มกลับมาเป็นปกติจะเป็นปัจจัยสนับสนุน การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในระดับปานกลางถึง 2% ในปี 66 ต่ำกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่ ท่ามกลาง ราคาพลังงานโลกที่เริ่มผ่อนคลาย การตรึงราคาสินค้า และการเติบโตที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจาก 6.1% ใน ปี 65 สะท้อนให้เห็นถึงเงินเฟ้อจากราคาพลังงานที่ลดลง ซึ่งคาดว่าจะลดลงจาก 25% ในปี 65 เหลือเพียง 1.9% รวมทั้งการเติบโตของ เศรษฐกิจที่จะยังต่ำกว่าระดับศักยภาพไปจนถึงปี 68
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 66 ท่ามกลางอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลง การตรึง ราคาพลังงานในประเทศ ซึ่งรวมถึงไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มจะยังคงอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 3/66 จะช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อใน ช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนโควิด โดยแม้ว่าการควบคุมราคาพลังงานและการขนส่ง สาธารณะอย่างต่อเนื่องช่วยลดแรงกดดันด้านค่าครองชีพ แต่การที่ภาครัฐใช้มาตรการควบคุมราคาอาจจะส่งผลกระทบให้การกระจายรายได้ ถดถอยลง ลดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร และบิดเบือนกระบวนการเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้การดำเนินนโยบายการเงินมีความซับซ้อน มากยิ่งขึ้น
ขณะที่หนี้สาธารณะในระยะปานกลางคาดว่าจะขึ้นไปสูงสุดที่มากกว่า 60% ต่อ GDP เล็กน้อย หนี้สาธารณะในระยะปานกลาง คาดว่าอยู่ในระดับที่มีความยั่งยืน เนื่องจากการขาดดุลการคลังที่แคบลง และ GDP ที่ฟื้นตัว จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ค่อย ๆ ลดลง นอกจากนี้ หนี้สาธารณะส่วนใหญ่อยู่ในสกุลเงินท้องถิ่น จึงได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่มากนัก
แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ระดับผลผลิตยังไม่น่าจะกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด และคาดว่าจะยังคงต่ำกว่าระดับ ศักยภาพในปี 66 ไปจนถึงปี 68 การกลับสู่เส้นทางดังกล่าวอาจช้าลงไปอีกจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ยากลำบากและราคาพลังงานที่ อาจกลับมาสูงขึ้น ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลอาจทำให้การลงทุนภาครัฐหยุดชะงัก ความท้าทายเชิงโครงสร้าง เช่น การเข้าสู่สังคมผู้ สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับการสะสมทุนที่ต่ำ ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกที่ลดลง และหนี้ครัวเรือนที่สูง อาจเป็นปัจจัยจำกัดการเติบโตที่ระดับศักยภาพ รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยง ด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/66 ที่ผ่านมา เวิลด์แบงก์ระบุว่า เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นที่ 4.5% ปัจจัยสนับสนุนมา จากอุปสงค์ในประเทศและการท่องเที่ยว แต่ยังคงตามหลังประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากความท้าทายภายนอก บัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและราคาน้ำมันที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อได้พุ่งสู่ระดับสูงสุดและกลับเข้าสู่ช่วงเป้าหมายของธนาคารแห่ง ประเทศไทย แต่ก็ยังคงมีแรงกดดันด้านราคา
มาตรการทางการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ส่งผลให้ การปรับภาวะการคลังให้เข้าสู่สมดุลทำได้ช้า ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่ยาวนานอาจชะลอการลงทุนภาครัฐ ระบบการ เงินโดยรวมยังคงมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ภาวะตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาค ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การค้า และการบริการ
2563 2564 2565 2566f 2567f 2568f อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง
(ณ ราคาประจำปี) -6.1 1.5 2.6 3.9 3.6 3.4 การบริโภคภาคเอกชน -0.8 0.6 6.3 3.8 3.4 3.0 การบริโภคภาครัฐ 1.4 3.7 0.2 -2.6 1.1 2.5 การลงทุนรวม -4.8 3.1 2.3 2.1 2.1 3.7 การส่งออกสินค้าและบริการ -19.7 11.1 6.8 7.3 6.4 4.3 การนำเข้าสินค้าและบริการ -13.9 17.8 4.1 1.5 4.2 4.0 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (ณ ราคาประจำปี) ภาคเกษตรกรรม -2.9 2.6 0.5 1.4 2.0 2.2 ภาคอุตสาหกรรม -5.1 6.0 -1.0 0.7 2.8 3.6 ภาคบริการ -5.6 -0.5 4.9 6.4 4.6 3.7 เงินเฟ้อ (ดัชนีราคาผู้บริโภค) -0.8 1.2 6.1 2.0 1.9 1.3 ดุลบัญชีเดินสะพัด (ร้อยละ ต่อ GDP) 4.2 -2.1 -3.5 2.5 4.4 4.9 ดุลการคลัง (ร้อยละ ต่อ GDP) -4.7 -7.0 -4.5 -2.1 -1.9 -1.9 หนี้สาธารณะ (ร้อยละ ต่อ GDP) 50.2 57.8 59.7 59.0 58.5 58.7