นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.00 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันก่อนที่ระดับ 35.22 บาท/ดอลลาร์
ในช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น และเคลื่อนไหวในกรอบ 34.95-35.25 บาท/ดอลลาร์ ตามการอ่อนค่าลงของ เงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ โดยเงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนสูง ท่ามกลางปัจจัยการเมืองในประเทศที่เริ่มมีผลกับ ตลาดการเงินไทยมากขึ้นในระยะนี้
"ไฮไลท์สำคัญที่ควรจับตาอย่างใกล้ชิด คือ ผลการโหวตเลือกประธานสภาฯ ในวันนี้ ซึ่งการประชุมสภาฯ จะเริ่มต้นในเวลา 9.00 น. และกระบวนการโหวตเลือกประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ ทั้ง 2 ตำแหน่ง อาจใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง"
ทั้งนี้ ควรระวังความผันผวนในช่วงที่ตลาดทยอยรับรู้ผลการเลือกประธานสภาฯ เพราะหากผลการเลือกเป็นไปตามที่ทั้งพรรค ก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยเสนอและแถลงในคืนก่อน เรามองว่า ตลาดการเงินอาจตอบรับในเชิงบวก หนุนให้เงินบาทมีโอกาสพลิกกลับมา แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทดสอบโซนแนวรับ 34.90 บาท/ดอลลาร์ได้ไม่ยาก แต่หากผลการเลือกประธานสภาฯ ผิดจากคาด และสะท้อนความ วุ่นวายทางการเมือง หรือความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาล เราประเมินว่า เงินบาทก็มีโอกาสพลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้เช่นกัน
ธนาคารกรุงไทย มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.85-35.20 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.05625 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.62 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 144.40/80 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0906 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0860/0905 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.187 บาท/ดอลลาร์
- จับตาปัจจัยการเมืองในประเทศที่สำคัญวันนี้ คือการลงมติโหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่าผลที่ออกมาจะเป็นไปตาม
- FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 89.9% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตรา
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่
- ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐเดือนมิ.ย. ปรับตัวลงสู่ระดับ 46.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.63 และต่ำกว่าที่นัก
- นักลงทุนจับตารายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 13-14 มิ.ย.66 ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธ รวมทั้งการเปิดเผยตัว
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย
เดือนมิ.ย., ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย., คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการ
ประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขจ้างงานนอกภาค
เกษตรเดือนมิ.ย.