นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.66 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าจากปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.92 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามภูมิภาคและทิศทางตลาดโลก เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ประกาศเมื่อคืนนี้ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยประเมินว่าการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในช่วงปลายเดือนนี้อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกเป็นครั้งสุดท้าย เพราะก่อนหน้านี้ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงกว่าเงินเฟ้อแล้ว
"ทิศทางบาทวันนี้อาจแข็งค่าน้อยกว่าภูมิภาค หลังปรับตัวแข็งค่าลงมาเร็ว เนื่องจากมีปัจจัยการเมืองภายในประเทศคอยกด ดัน ทั้งการประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ และการชุมนุมโดยรอบ" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.55-34.85 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.59500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.25 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 139.62/65 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1141 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1023/1026 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.784 บาท/ดอลลาร์
- เอกชนจับตาโหวตนายกฯ 13 ก.ค.นี้ หวังราบรื่นไร้ปัญหา จัดตั้งรัฐบาลได้ตามไทม์ไลน์ สร้างเชื่อมั่นนักลงทุนไทยและต่าง
- "กกต." มีมติ 4 ต่อ 1 ส่งศาลรัฐธรรมนูญฟัน "พิธา" พ้น ส.ส. เหตุถือหุ้นสื่อไอทีวี พร้อมขอสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ โดนซ้ำ
- ส.อ.ท.-หอการค้า รับได้ศาลวินิจฉัยแบบไหน หรือใครเป็นนายกฯ ถ้าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่ห่วงตั้งรัฐบาลช้ากระทบ
- สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคประจำเดือนมิ.ย.เมื่อวานนี้
- นักวิเคราะห์จากบริษัท Zaye Capital Markets กล่าวว่า "ดัชนี CPI ที่ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีทำ
- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ หลังจากดัชนี
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพุธ (12 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า
- ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในวันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.
ย. ส่วนในวันพรุ่งนี้จะเปิดเผยราคานำเข้าและส่งออกเดือนมิ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน