สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2/66 (เม.ย.-มิ.ย.) พบว่า ขยายตัว 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 65 โดยสาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัว เพิ่มขึ้น
ขณะที่สาขาพืช ซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดของภาคเกษตรหดตัวลง เนื่องจากปริมาณฝนและปริมาณน้ำใน อ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำตามธรรมชาติน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งยังมีสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วง ปลายปี 65 ถึงช่วงต้นปี 66 ทำให้พื้นที่ทางภาคตะวันออกมีฝนตกชุกต่อเนื่องสลับกับมีลมพายุ ส่งผลให้สินค้ากลุ่มผลไม้ ดอก และผลร่วงหล่น เสียหาย ขณะที่พื้นที่ทางภาคใต้มีฝนน้อยและสภาพอากาศร้อน ส่งผลให้สินค้าปาล์มน้ำมันและยางพารามีผลผลิตลดลง เมื่อพิจารณาเป็นราย สาขา พบว่า
1. สาขาพืช ในไตรมาส 2/66 หดตัว 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 65
สินค้าพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่
- มันสำปะหลัง เนื่องจากในช่วงเดือนก.ย. 65 เนื้อที่ปลูกในภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักและ
- อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน และยางพาราปาล์มน้ำมัน ผลผลิตลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยและสภาพอากาศร้อน
- ทุเรียน ผลผลิตลดลง เนื่องจากพื้นที่ปลูกทุเรียนทางภาคตะวันออก ได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกชุกต่อเนื่องสลับกับมีลมหนาว
- มังคุด และเงาะ ผลผลิตลดลง เนื่องจากเกษตรกรโค่นต้นมังคุดและเงาะเพื่อไปปลูกทุเรียนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
สินค้าพืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- ข้าวนาปรัง ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงฤดูฝนปี 65 มีฝนตกชุกจากสภาวะลานีญาและในเดือนก.ย. 65 มีพายุโนรูเข้า
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกและมี
- ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในแหล่งผลิตสำคัญทางภาคเหนือ และ
ส่วนข้าวนาปี มีผลผลิตทรงตัว เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดี จึงจูงใจให้เกษตรกรยังคงดูแลรักษาผลผลิตอย่างต่อเนื่อง แต่ใน ช่วงการเพาะปลูกเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
2. สาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 3.2%
สินค้าปศุสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่
- สุกร ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ประกอบกับมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับ
- ไก่เนื้อ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภคในประเทศที่มีมากขึ้น และการส่งออก
- ไข่ไก่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของภาคการ
สินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่
- น้ำนมดิบ เนื่องจากจำนวนแม่โคให้นมลดลง ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรปรับลดปริมาณการให้อาหาร
ข้นที่มีราคาสูงและเกษตรกรบางรายเลิกเลี้ยง ส่งผลให้มีปริมาณน้ำนมลดลง
3. สาขาประมง ขยายตัว 5.7%
สินค้าประมงที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- กุ้งขาวแวนนาไม เนื่องจากเกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ส่งผลให้มีอัตราการรอดดี ประกอบกับเกษตรกรเร่งจับ
สินค้าประมงที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่
- สัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือ ปริมาณลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตหลักปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับ
- ปลานิล และปลาดุก ผลผลิตลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตสำคัญในภาคกลางมีสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย และปริมาณน้ำในพื้นที่
เพาะเลี้ยงมีน้อย ประกอบกับต้นทุนอาหารสัตว์ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้เกษตรกรชะลอการปล่อยลูกพันธุ์ปลาและลดรอบการเลี้ยง
4. สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 2.0% เนื่องจากในปีที่ผ่านมาเกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก โดยกิจกรรมการ จ้างบริการเตรียมดินเพิ่มขึ้นในพื้นที่ปลูกพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 (ปีเพาะปลูก 2566/67) และกิจกรรมการเก็บเกี่ยวผล ผลิตเพิ่มขึ้นในพื้นที่พืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ปีเพาะปลูก 2565/66) ส่งผลให้ภาพรวมในสาขาบริการทาง เกษตรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
5. สาขาป่าไม้ ขยายตัว 2.2%
- ไม้ยูคาลิปตัส เพิ่มขึ้นตามความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษภายในประเทศ และการส่งออกไปยังตลาด
- ถ่านไม้ เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของภาคบริการในประเทศ รวมถึงมีการส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น
- ครั่ง เพิ่มขึ้น จากการส่งเสริมการเลี้ยงของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นที่ต้องการของตลาดอินเดีย
- ไม้ยางพารา ผลผลิตลดลง ตามพื้นที่ตัดโค่นสวนยางพาราเก่า และปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดีหรือพืชเศรษฐกิจอื่น
- รังนก ลดลง เนื่องจากมีการส่งออกไปจีนลดลง
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการ สศก. คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 66 จะขยายตัวอยู่ในช่วง 1.5- 2.5% เมื่อเทียบกับปี 65 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายและมาตรการของภาครัฐ อาทิ บริหารจัดการสินค้าให้สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด ยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับและตอบโจทย์ผู้บริโภค แปรรูปเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เกษตร และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการผลิต การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และการฟื้นตัว ของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามเฝ้าระวัง ประกอบด้วย ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ภาวะฝนทิ้งช่วงและแนวโน้มการเข้าสู่ ปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงปลายปีที่จะทำให้เกิดภาวะแห้งแล้ง การระบาดของโรคและแมลง ที่ยังต้องติดตามต่อเนื่องทั้งสถานการณ์ใน ประเทศและต่างประเทศ ราคาปัจจัยการผลิตที่ทำให้ต้นทุนการผลิตและเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลต่อกำลังซื้อและการลงทุนของ เกษตรกร และความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกอาจจะไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้
ตารางอัตราการเติบโตของภาคเกษตร (หน่วย: ร้อยละ)
สาขา ไตรมาส 2/66 (เม.ย.-มิ.ย. 66) ภาคเกษตร 0.3 พืช -1.6 ปศุสัตว์ 3.2 ประมง 5.7 บริการทางการเกษตร 2.0 ป่าไม้ 2.2 ที่มา: กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ประมาณการ ณ เดือนมิ.ย. 66)