ทันทีที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ที่ชื่อ"เศรษฐา ทวีสิน" นโยบายสุดฮอตของพรรคเพื่อไทย คือ"เงินดิจิทัล 10,000 บาท" กลายเป็นที่จับตาของประชาชนที่ต่างเฝ้ารอว่าจะจ่ายเมื่อไหร่? จ่ายในรูปแบบไหน? ยังคงเป็นคำถามกันอยู่
และจากการให้สัมภาษณ์ของนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงิน 10,000 บาท ว่าจะมีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อความโปร่งใส และหวังต่อยอดเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินรูปแบบใหม่ในประเทศ ภายใต้เงื่อนไข
- ใช้จ่ายในรัศมี 4 กิโลเมตรตามที่อยู่ทะเบียนบ้าน (ต่างจังหวัดอาจรัศมีกว้างกว่า)
- สามารถใช้ซื้ออาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือเครื่องมือทำกิน
- ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับอบายมุข ใช้หนี้ สินค้าออนไลน์ ยาเสพติดและการพนัน (อาจใช้ปลดหนี้เกี่ยวกับเกษตรหรือ กยศ. ได้ แต่ต้องหารือกันอีกที)
- สามารถใช้ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ หรือผ่านเลขบัตรประจำตัวประชาชน + โค้ดส่วนตัว/QR code
- จำกัดระยะเวลาใช้ภายใน 6 เดือน
- คนทั่วไปไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้ (แต่คนรับต้องมีแอปฯ รับเงินคล้ายแอปฯ ถุงเงินและอยู่ในระบบภาษีจะแลกเป็นเงินสดได้ทุกเมื่อ ซึ่งโมเดลนี้อาจเปลี่ยนได้ในอนาคต)
แต่เงินดิจิทัล 10,000 นี้ จะจ่ายในรูปแบบไหน? เป็นโทเคน? ผ่านแอปพลิเคชันอะไร? จะเป็นชนวนระเบิดของภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ หรือจะสร้างผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างไร วันนี้ไปหาคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน อ. ตั๊ม พิริยะ สัมพันธารักษ์ กรรมการบริหาร บริษัท โฉลกดอทคอม จำกัด และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไรท์ชิฟท์ จำกัด
https://youtu.be/Ige7pMHHfvE