นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.51 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.58 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.45 - 35.64 บาท/ดอลลาร์ โดยหลังจากที่เงินบาทอ่อนค่าขึ้นไปถึงระดับสูงสุด ของวันแล้ว ก็ค่อยๆ ย่อตัวลงมาตามแรงขายดอลลาร์สหรัฐ โดยวันนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่มากนัก
สำหรับสัปดาห์หน้า ตลาดให้ความสำคัญกับการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) ขณะที่ปัจจัยสำคัญในประเทศ นักลงทุนรอติดตาม ครม.เศรษฐา 1 แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11-12 ก.ย.นี้
"วันนี้เงินบาทยังไม่ค่อยมีปัจจัยสำคัญมาก ต่างชาติก็ยังไม่ได้กลับมาซื้อหุ้นและพันธบัตรของไทย เพราะรอดูความชัดเจน ในการแถลงนโยบายรัฐบาลช่วงต้นสัปดาห์หน้า" นักบริหารเงิน ระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.45 - 35.70 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.28 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 147.13 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0703 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0715 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,547.17 จุด ลดลง 3.19 จุด, -0.21% มูลค่าการซื้อขาย 34,714.41 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,167.66 ลบ.(SET+MAI)
- นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ระบุ พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 11 พรรค อยากเห็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP)
- รมช.คลัง เปิดเผยว่า มาตรการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ได้มีการหารือร่วมกันไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว โดย
- กระทรวงการคลัง ได้พิจารณาอนุญาตให้นิติบุคคลต่างประเทศ ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย
- รมว.คลังสหรัฐฯ ระบุว่า จะดำเนินการร่วมกับประเทศสมาชิกในการประชุมสุดยอด G20 ที่อินเดีย โดยตั้งเป้าเพื่อ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนี ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ถูกปรับให้มี
- ซิตี้กรุ๊ป ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจยูโรโซนสำหรับปี 2566 เหลือขยายตัวเพียง 0.4% และคาด
- สัปดาห์หน้า สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคเดือนส.
ค., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนส.ค. และดัชนีราคาผู้
ผลิต (PPI) เดือนส.ค.