ครม.ทบทวนแผนคลังระยะปานกลาง 67-70 ปรับคาดการณ์ GDP-ประมาณการรายได้-รายจ่าย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 13, 2023 18:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567-2570) ฉบับ ทบทวน ตามที่ คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณราย จ่ายประจำปีตาม มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัด เก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงิน การคลังฯ ต่อไป

แผนการคลังระยะปานกลางฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 สถานะและ ประมาณการการคลัง และส่วนที่ 3 เป้าหมายและนโยบายการคลัง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1.สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ

ปี 2567 คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) จะขยายตัวอยู่ที่ 3.2% และ GDP Deflator อยู่ที่ 1.8%

ปี 2568 คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ที่ 3.6% และขยายตัวอยู่ที่ 3.4% ในปี 2569-2570 ในส่วนของ GDP Deflator ใน ปี 2568-2570 อยู่ที่ 2.0%

2.สถานะและการประมาณการการคลัง

2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2567-2570 เท่ากับ 2.787 ล้านล้านบาท 2.899 ล้านล้านบาท 2.985 ล้านล้านบาท และ 3.074 ล้านล้านบาท ตามลำดับ

2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2567-2570 เท่ากับ 3.48 ล้านล้านบาท 3.591 ล้านล้านบาท 3.706 ล้านล้านบาท และ 3.825 ล้านล้านบาท ตามลำดับ

2.3 จากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวในปีงบประมาณ 2567-2570 รัฐบาลจะ ขาดดุลงบ ประมาณจำนวน 6.93 แสนล้านบาท 6.92 แสนล้านบาท 7.21 แสนล้านบาท และ 7.51 แสนล้านบาท หรือ 3.63% 3.43% 3.40% และ 3.36% ต่อ GDP ตามลำดับ 2.4 ประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2567-2570 เท่ากับ 64.00% 64.65% 64.93% และ 64.81% ตามลำดับ

3.เป้าหมายและนโยบายการคลัง การดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลางยังมีความจำเป็นต้องดำเนิน นโยบายการคลัง แบบขยายตัวผ่านการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุล เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในขณะเดียวกันจะ มุ่งเน้นการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งและการมีภูมิคุ้มกันของภาคการคลัง เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต โดยยึดหลัก "Sound Strong Sustained" ที่มุ่งเน้นการดำเนินนโยบายการคลังที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง รวม ทั้งเสริมสร้างความ เข้มแข็งทางการคลังในทุกด้าน ทั้งในส่วนของการฟื้นฟูการจัดเก็บรายได้ การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และการ บริหารจัดการหนี้ สาธารณะ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถรองรับการดำเนิน นโยบายต่างๆ ของรัฐบาล และคำนึงถึงการรักษาระดับเครื่องชี้ทางการคลังให้อยู่ภายใต้กรอบวินัยการคลัง (Fiscal Discipline) เพื่อ มุ่งสู่ภาคการ คลังที่ยั่งยืนและมีศักยภาพในการรองรับความเสี่ยงที่ประเทศอาจต้องเผชิญอีกในอนาคต

สำหรับเป้าหมายของแผนการคลังระยะปานกลางฉบับนี้จะมุ่งเน้นการควบคุมขนาดการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ให้อยู่ใน ระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคลังที่เปลี่ยนแปลงไป และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในระยะปานกลาง เพื่อ มุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมีประมาณการสถานะการคลังในระยะปานกลางภายใต้ สมมติฐานทาง เศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ดังนี้

                                                                                หน่วย: ล้านบาท
ปีงบประมาณ                       2566          2567          2568          2569          2570
รายได้รัฐบาลสุทธิ                2,490,000     2,787,000     2,899,000     2,985,000     3,074,000
อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ)              3.8           11.9          4.0           3.0           3.0
งบประมาณรายจ่าย               3,185,000     3,480,000     3,591,000     3,706,000     3,825,000
อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ)              2.7            9.3          3.2           3.2           3.2
ดุลการคลัง                     (695,000)     (693,000)     (692,000)     (721,000)     (751,000)
ดุลการคลังต่อ GDP (ร้อยละ)        (3.83)         (3.63)       (3.43)        (3.40)        (3.36)
หนี้สาธารณะคงค้าง              11,254,544    12,089,379   12,897,716     13,652,385    14,363,204
หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP (ร้อยละ)  62.97         64.00        64.65          64.93         64.81
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)  18,169,267    19,077,730   20,146,083     21,233,972    22,380,606
หมายเหตุ: อัตราการเพิ่มของรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2566 เทียบประมาณการ
ปีงบประมาณ 2565 ตาม
เอกสารงบประมาณโดยสังเขป
ที่มา: กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          ทั้งนี้ ในระยะยาวหากภาวะเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความ
เข้มแข็งทางการ
คลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำ
งบประมาณสมดุลใน
ระยะเวลาที่เหมาะสม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ