ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.16 เคลื่อนไหวสอดคล้องภูมิภาค เกาะติดตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ-ผลประชุม BoE

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 21, 2023 17:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.16 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.25 บาท/ดอลลาร์

โดยระหว่างวัน เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.07- 36.31 บาท/ดอลลาร์ ในภาพรวมแล้ว เงินบาทยังเคลื่อนไหวไปใน โซนอ่อนค่า สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคที่ยังคงอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจัยสำคัญ คือ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาส่งสัญญาณว่าอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ

สำหรับคืนนี้ นักลงทุนรอดูผลประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ซึ่งตลาดคาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปสู่ระดับ 5.50% รวมทั้งรอดูการส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้เป็นครั้งสุดท้ายในวัฎจักร ขณะเดียวกัน ตลาดยังติดตามการรายงานจำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ด้วย

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.05 - 36.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.13 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 148.33 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0655 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0638 ดอลลาร์/ยูโร
  • นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง รับทราบสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนแล้ว แต่รัฐบาลจะไม่เข้าไปก้าวก่าย เพราะอยู่ในความ
ดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ผลตอบแทนระยะสั้น ซึ่งทำให้เงินทุนไหลออก
เพื่อเก็งกำไร แต่มองว่าเงินบาทอ่อน ก็ส่งผลดีกับภาคส่งออก และท่องเที่ยวของไทย
  • นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่มีแนวคิดปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยระบุว่าไม่ทราบที่มาของข่าวนี้ ยืน
ยันว่าต้องให้เกียรติ และเคารพซึ่งกันและกัน
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชี้ เกษตรกรไทยกว่า 90% มีหนี้สิน ยอดหนี้เฉลี่ยมากกว่า 450,000 บาท/ครัว
เรือน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโตถึง 75% ในรอบ 9 ปี ที่สำคัญคือครัวเรือนเกษตรกรกว่าครึ่ง มีแนวโน้มไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ เหตุ
หนี้สูงเกินศักยภาพ จ่ายไหวแค่ดอกเบี้ย
  • ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 3.5% ในปีนี้ หลังจากที่เคยคาด
การณ์เอาไว้ในเดือนเม.ย.ว่าจะขยายตัว 3.3% ขณะที่ คงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยสำหรับปีหน้าที่การขยายตัว 3.7% โดยภาคการท่อง
เที่ยวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมีเงินไหลเข้าสู่ภูมิภาคดังกล่าวอย่างแข็งแกร่ง และแม้การส่งออก
จะเติบโตลดลง แต่ก็เริ่มส่งสัญญาณให้เห็นถึงเสถียรภาพบ้างแล้ว
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดฉากการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ (21 ก.ย.) และจะแถลงมติการประชุมในวันพรุ่ง
นี้ (22 ก.ย.) ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่า คณะกรรมการ BOJ จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษ (Ultralow Rates) ในการ
ประชุมครั้งนี้ เพื่อประเมินพัฒนาการของเศรษฐกิจและตลาดการเงิน นับตั้งแต่ที่ BOJ ได้ทำการปรับนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน
พันธบัตร (YCC) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในการประชุมเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา
  • นักลงทุนจับตาการตัดสินใจของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ว่า จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ หลังจากปรับขึ้น
ติดต่อกันตั้งแต่เดือนธ.ค. 2564 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค.ลดลงต่ำเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • นักเศรษฐศาสตร์จากโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มวงจรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน
ไตรมาส 4 ของปี 2567 จากที่ก่อนหน้านี้ คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในไตรมาส 2 ปี 2567
  • ธนาคารกลางสวีเดน (Riksbank) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 4.00% พร้อมระบุว่า อาจจำเป็น
ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก เพื่อดึงเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้ ธนาคารกลางสวีเดน ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อ
กันเป็นครั้งที่ 8 เพื่อรับมือเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น
  • ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% เนื่องจาก SNB ได้ระงับการดำเนินการเพื่อ
ควบคุมเงินเฟ้อซึ่งปรับตัวลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ก็ยังไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ที่จะคุมเข้มนโยบายการเงินอีก
  • ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 6.25% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 เพื่อสร้างความ
สมดุลระหว่างการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็สกัดเงินเฟ้อควบคู่ไปด้วย
  • ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase

rate) ระยะเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.75% ท่ามกลางแรงกดดันระลอกใหม่เกี่ยวกับสกุลเงินรูเปียห์ของ

อินโดนีเซีย และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ