ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.17 แนวโน้มอ่อนค่า หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐสูงหนุนดอลลาร์แข็งค่า จับตาส่งออกไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 26, 2023 09:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 36.17 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปิดตลาดวานนี้ที่ระดับ 36.14 บาท/ดอลลาร์

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย (แกว่งตัวในช่วง 36.09-36.22 บาท/ดอลลาร์) ตามจังหวะการแข็งค่า ขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่ยังคงได้แรงหนุนจากความกังวลของผู้เล่นในตลาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้ นานขึ้น ซึ่งมุมมองดังกล่าวได้ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อ และกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง

สำหรับวันนี้ ตลาดรอติดตามรายงานยอดการส่งออก-นำเข้าของไทยในเดือนสิงหาคม โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่า ยอดการส่งออกอาจหดตัวต่อเนื่อง -3.6% (y/y) ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้า

"แนวโน้มค่าเงินบาท เราประเมินว่า จากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในช่วงคืนที่ผ่านมา พร้อมกับการย่อตัวลงของราคา ทองคำ ยังคงเป็นปัจจัยที่หนุนโมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อ ทดสอบโซนแนวต้านหลักในระยะสั้นที่ 36.30 บาท/ดอลลาร์ อีกครั้ง" นายพูน ระบุ

ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ตลาดรอดูรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูลตลาดบ้าน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดย Consumer Confidence รวมทั้งจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ทั้งเฟด และธนาคารกลางยุโรป(ECB) เพื่อ ประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป

นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.00-36.35 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.34000 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.92 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 148.59/60 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0586 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0631/0636 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.032 บาท/ดอลลาร์
  • กระทรวงพาณิชย์ จะเปิดเผยข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก ของไทยในเดือน ส.ค.66 ซึ่งตลาดยังคงคาดการณ์ว่าการ
ส่งออกในเดือนนี้จะยังหดตัวต่อเนื่องจากที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุด การส่งออกของไทยในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) หดตัว -
5.5%
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินว่า ในการประชุม กนง. วันที่ 27 ก.ย.นี้ จะมีมติคงดอกเบี้ยนโดยบายไว้ที่ 2.25% ขณะ
ที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และภาคส่งออกเผชิญความไม่แน่นอนสูง อย่างไรก็ดี ยอมรับว่ายังมีความเสี่ยงที่ กนง.อาจตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเป็น
ครั้งสุดท้าย หากคณะกรรมการให้น้ำหนักไปที่แนวโน้มขาขึ้นของเงินเฟ้อ จากนโยบายประชานิยมของรัฐบาล
  • "บล.อินโนเวสท์เอกซ์" คาดฟันด์โฟลว์เริ่มไหลเข้าตลาดหุ้นไทยปลายปีนี้ หลังนายกฯเข้าประชุม"ยูเอ็นจีเอ" เรียกความ
เชื่อมั่นนักลงทุนระยะกลาง-ยาว หนุนดัชนีสิ้นปีนี้แตะ 1,650 จุด-ปีหน้า 1,750 จุด
  • ททท. ชี้ สัญญาณจีนเที่ยวไทยไฟลต์แรกดีงาม ดันเป้าทั้งปีแตะ 5 ล้านคนแน่นอน ขณะที่อัตราการจองห้องพักเพิ่มขึ้น 10-
20%
  • สำนักข่าวของจีนรายงานว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนเตรียมแห่เดินทางออกนอกประเทศในช่วงเทศกาลวันหยุด Golden
Week ซึ่งตรงกับวันที่ 29 ก.ย.-6 ต.ค. ซึ่งได้แรงกระตุ้นจากการผ่อนคลายนโยบายของไทย จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับ
ตัวสูงขึ้นต่อไป
  • นักลงทุนยังกังวลว่าหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอาจจะถูกปิดทำการ หรือชัตดาวน์ในวันที่ 1 ต.ค. หากสภาคองเกรสไม่มี
ความคืบหน้าในการผ่านร่างงบประมาณชั่วคราว และส่งต่อให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนามเป็นกฎหมายภายในวันที่ 30 ก.ย.

ทางด้านมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ออกรายงานเตือนล่าสุดเมื่อวานนี้ว่า หากหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐถูกชัตดาวน์ ก็จะ ส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ

  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า
เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 4.9% ในไตรมาส 3/2566 หลังจากมีการขยายตัว 2.0% และ 2.1% ในไตรมาส 1 และ 2 ตามลำดับ
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (25 ก.ย.)
ขานรับแนวโน้มที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (25 ก.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และอัตราผลตอบ
แทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจและการแสดงความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณ
ที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าวรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส
2/2566 และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนส.ค. โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ
เพราะสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้
บริโภค (CPI)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ