นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 36.83 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัว แข็งค่าต่อเนื่องจากเปิดตลาดเมื่อเช้านี้ที่ระดับ 36.91 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทแข็งค่าขึ้น และเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่า หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ย่อตัว ลง โดยตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.80 - 36.94 บาท/ดอลลาร์
"บาทแข็งค่าตามทิศทางตลาดโลก แต่วันนี้ปรับตัวแข็งค่าสุดในภูมิภาค อาจเพราะก่อนหน้านี้ปรับตัวอ่อนค่าเร็วกว่าคน อื่น" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.70 - 37.00 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 148.89 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 148.47 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 1.0603 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0573 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,434.45 จุด เพิ่มขึ้น 2.73 จุด, +0.19% มูลค่าการซื้อขาย ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,241.47 ล้านบาท (SET+MAI)
- รมช.คลัง เผยช่วงกลางเดือน พ.ย.66 เตรียมดำเนินการเปิดให้บรรดาร้านค้าที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการดิจิ
- โฆษกรัฐบาล เผยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเงินดิจิทัล จะสรุปข้อเสนอแนะต่างๆ ในวันที่ 12 ต.ค.นี้ก่อน
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาดัลลัส หนุนให้หยุดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตรา
- รมต.ต่างประเทศ ของสเปนและฝรั่งเศส ออกมาประสานเสียงคัดค้านข้อเสนอที่จะให้ระงับความช่วยเหลือจาก
- กองทัพอิสราเอล ประกาศว่าสามารถยึดคืนการควบคุมชายแดนอิสราเอล-กาซากลับมาได้แล้ว ซึ่งเกิดขึ้น 4 วันหลัง
- รมต.คลังญี่ปุ่น เผยญี่ปุ่นจะเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางจากกลุ่มประเทศ G7 ใน
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและยูโรโซน โดยระบุ
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ
ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนี
ราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนต.ค. เป็นต้น