นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.23 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.43 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.09-36.41 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทค่อนข้างผันผวน เนื่องจากมีทั้งแรงซื้อ กับแรงขายดอลลาร์สลับกัน ในขณะที่ตลาดพันธบัตร นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิประมาณ 2 พันล้านบาท
"เงินบาทกลับมาแข็งค่า เพราะช่วงกลางสัปดาห์มี flow ส่งออกทองคำจากฝั่งผู้ค้าในประเทศ ขณะที่เมื่อวานนักลงทุนต่าง ชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทยกว่าหมื่นล้านบาท ประกอบกับบอนด์ยีลด์สหรัฐย่อตัวลง เพราะมองว่าเฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยต่อ ทำให้เงินบาท แข็งค่าเร็วในช่วงนี้" นักบริหารเงินระบุ
โดยคืนนี้ ตลาดรอดูการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อเดือนก.ย.ของสหรัฐ
นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.00- 36.35 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 149.09 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 149.09 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0676 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0623 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,450.75 จุด ลดลง 5.24 จุด (-0.36%) มูลค่าซื้อขาย 36,895.02 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,766.37 ลบ.(SET+MAI)
- ไทยและตุรกีเห็นพ้องกันที่จะผลักดันความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกันให้ก้าวหน้า เนื่องจากที่ผ่านมามีการเจรจา
- นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับนายลี เซียนลุง (H.E. Mr. Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ถึงความร่วม
- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยวันนี้ (12 ต.ค.) ว่า ตลาดน้ำมันมีแนวโน้มจะยังคงตกอยู่ในความเสี่ยงจากผล
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษ ระบุว่า เศรษฐกิจของอังกฤษพลิกสู่การขยายตัวในเดือนส.ค. ที่ 0.2% จากที่
- เซ็นทรัล ฮุ่ยจิน อินเวสต์เมนต์ ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติจีน ได้เพิ่มการถือครองหุ้นในธนาคารพาณิชย์ราย
- ธนาคารจีเอ็มโอ โอโซระ เน็ต แบงก์ (GMO Aozora Net Bank) จะออกสกุลเงินดิจิทัลที่อิงกับเงินเย
- ผลสำรวจรายเดือนของสำนักข่าวรอยเตอร์บ่งชี้ว่า บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวเนื่องถึงปี 2568 โดย
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนี
ราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนต.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน