นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างแผนดำเนินการในระยะ 1 ปี (ต.ค.66-ก.ย.67) และเป้าหมายเร่งด่วนภายใน 99 วันลงมือทำจริง (ต.ค.66-ม.ค.67) เพื่อดึงดูดเงินลงทุนทั่วโลกผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 5 คลัสเตอร์หลัก (การแพทย์ ดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) BCG บริการ) ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายหลักของรัฐบาล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่ยั่งยืน เพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติ
สำหรับเป้าหมายเร่งด่วนใน 99 วันของอีอีซี แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่
1.ด้านนโยบาย ภายในเดือน ธ.ค.66 จัดทำแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (2566-2570) ซึ่งจะเป็นกรอบดำเนินงานหลักของอีอีชี บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ในทุกมิติ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 2) เพิ่มประสิทธิภาพ และการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 3) ยกระดับทักษะแรงงานให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4) พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัย น่าอยู่อาศัยและเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ และ 5) เชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสู่ความยั่งยืนของชุมชน
2.ด้านการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุน สร้างความพร้อมให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดยเดือน ธ.ค.66 จะออกประกาศ กพอ.เรื่อง สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดการลงทุนในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ครอบคลุมด้านภาษี และมิใช่ภาษี เพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุน เช่น สิทธิในการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร สิทธิ การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุด รวมไปถึงการอนุญาตอยู่อาศัยในระยะยาว (EEC Long term VISA) เป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ อาทิ ผู้มีความเชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ผู้ชำนาญการ ตลอดจนคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ เป็นต้น
3.ด้านการสร้างระบบนิเวศสำหรับการลงทุน ภายในเดือน ม.ค.67 พัฒนาแหล่งระดมทุนอีอีซี (EEC Fundraising Venue) รองรับการระดมทุนที่ใช้เงินตราต่างประเทศเป็นหลัก โดยเริ่มจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ให้ผู้ระดมทุนทั้งบริษัทไทยและต่างประเทศ ที่ใช้เงินตราต่างประเทศมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสให้แก่บริษัทไทยที่ไป จดทะเบียนในต่างประเทศให้มีทางเลือกในการระดมทุนมากขึ้น และจะเป็นการเพิ่มเครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างให้กับผู้ลงทุนในตลาดได้
4.ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินจะได้ข้อยุติการเจรจาและแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินโครงการระหว่าง รฟท. และเอกชนคู่สัญญาร่วมลงทุน (บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด) ส่วนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ภายในเดือน ม.ค.67 เอกชนคู่สัญญาจะพร้อมเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการ
5.ด้านการจัดให้มีบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ภายในเดือน ธ.ค.67 จะยกระดับการให้บริการอนุมัติและอนุญาตจำนวน 44 รายการ ครอบคลุมตาม พ.ร.บ.อีอีซี ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน การควบคุมอาคาร การจดทะเบียนเครื่องจักร การสาธารณสุข คนเข้าเมือง การจดทะเบียนพาณิชย์ โรงงาน และการจัดสรรที่ดิน โดยจะเพิ่มการพัฒนาระบบให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เช่น สิทธิ์ในการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร ซึ่งจะทำให้พื้นที่อีอีซีเป็นเป้าหมายของนักลงทุนทั่วโลก
พร้อมกันนี้ อีอีชี ยังได้บูรณาการร่วมกับภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะต้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อเตรียมกำลังคนรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักแต่ละด้านที่จะมาเป็นแต้มต่อ ทำให้นักลงทุนตัดสินใจเลือกเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบัน อีอีซี ได้เชื่อมความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา ผู้ประกอบการชั้นนำ ผ่านกลไกขับเคลื่อน 12 ศูนย์เชี่ยวชาญพัฒนาบุคลากร เพื่อเป็นฐานเรียนรู้หลัก จัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะใหม่ที่จำเป็นและตรงกับความต้องการอุตสาหกรรม เช่น ด้านยานยนต์ไฟฟ้า ด้านดิจิทัล เป็นต้น
6.ด้านการพัฒนาพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ภายในเดือน ต.ค.66 จัดตั้งศูนย์ธุรกิจอีอีซีและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ มีพื้นที่พัฒนาระยะที่ 1 ประมาณ 5,795 ไร่ จากพื้นที่รวมทั้งโครงการประมาณ 14,619 ไร่ ทั้งนี้ การจัดตั้งเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ การแพทย์และสุขภาพครบวงจร การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ดิจิทัล การบินและโลจิสติกส์ เป็นต้น, การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษนิคมอุตสาหกรรมเอเพ็กข์กรีนอินดัสเตรียล เอสเตท พื้นที่ 22,191.49 ไร่ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกกและบริการที่จำเป็น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยา กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นต้น
และภายในเดือน ม.ค.67 การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษยกระดับบริการสาธารณสุขในพื้นที่อุตสาหกรรมปลวกแดง (EEC Advanced Healthcare : EEChc) เป็นการลงทุนโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ในรูปแบบการร่วมลงทุน ระหว่างภาครัฐและเอกชน ให้ประชาชนที่อยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่ อ.ปลวกแดง ได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทันการ สะดวก ปลอดภัยและมีคุณภาพ ลดการเดินทางไปรักษาพยาบาลนอกพื้นที่
7.ด้านการเริ่มต้นการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ภายในเดือน ธ.ค.66 เกิดการลงนามสัญญาเช่าพื้นที่ภายในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล EECd ได้แก่ บริษัท Crtls Datacenter ผู้ประกอบการชั้นนำระดับโลกจากประเทศอินเดีย เช่าพื้นที่ 25 ไร่ ระยะเวลา 50 ปี เพื่อลงทุน ศูนย์ธุรกิจข้อมูล (Data Center) มูลค่าโครงการรวมกว่า 4,500 ล้านบาท รวมทั้งจะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรมเกี่ยวกับ Cloud Service การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ) เช่าพื้นที่ 5 ไร่ ระยะเวลา 20 ปี ลงทุนประกอบกิจการสถานี ขาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station ให้บริการรองรับรถขนส่งขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมระบบโลจิสติกส์การขนส่งในพื้นที่ EEC และบริษัท ALBA จากประเทศเยอรมนี มีความประสงค์เช่าพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการต้นแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มและศูนย์ควบคุมการรีไซเคิล ซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการลงทุนโครงการกว่า 1,300 ล้านบาท
8.ด้านการสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่และชุมชน ภายในเดือน ม.ค.66 ต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน วิสาหกิจชุมชน และกิจการเพื่อสังคมในพื้นที่อีอีซี ให้ได้รับการรับรองเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนตันแบบ (EEC Select) สนับสนุนการสร้างแนวคิดเชิงธุรกิจอย่างเป็นระบบ และได้รับการส่งเสริม และพัฒนาช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น
เดือน ม.ค.67 จัดตั้งศูนย์เครือข่ายพลังสตรี EEC ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ เพื่อเป็นศูนย์การสร้างความเข้าใจโยชน์อีอีชี รวมไปถึงการขยายผลโครงการเยาวชน อีซี สแควร์ สร้างโอกาสให้เยาวชน ได้ต่อยอดแนวนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) โดยเห็นชอบกรอบอัตราค่าเช่าและค่าธรรมเนียมอื่นใด และกรอบสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในโครงการ EECd พร้อมแผนปฏิบัติการ และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อการขับเคลื่อนรองรับนักลงทุนระดับนานาชาติที่แสดงความจำนงเข้าลงทุนในพื้นที่โครงการ EECd แล้ว อาทิ
- บริษัท Ctr'S สร้างธุรกิจ Data Center มีมูลค่การลงทุนโครงการรวมประมาณ 15,000 ล้นบาท โดยมี-แผนการเซ็นสัญญาเช่ากับ สกพอ. ภายในเดือน ต.ค.6666 เพื่อเช่าพื้นที่จำนวน 25 ไร่ ระยะเวลา 50 ปี สร้างรายได้แก่ สกพอ. มูลค่าทั้งหมดประมาณ 1.31 พันล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดตั้งศูนย์อัดประจุไฟฟ้าตันแบบระดับประเทศ (EV Charging Station) โดยมีแผนการลงนามความร่วมมือภายในปี 2566 เพื่อเช่าพื้นที่จำนวน 5 ไร่ ระยะเวลา 20 ปีสร้างรายได้แก่ สกพอ. มูลค่าทั้งหมดประมาณ 60 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน
- บริษัท ALBA Asia Group Limited บริษัทชั้นนำด้าน Smart City Digital Waste and Recycling Management จากประเทศเยอรมนี ปัจจุบันบริษัได้มีการส่งหนังสือแสดงเจตจำนงความต้องการลงทุน (Letter of Intent) ในพื้นที่โครงการ EECd วันที่ 24 เม.ย.66 และมีแผนการลงนามบันทึกช้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ในการสร้างศูนย์ควบคุมและสั่งการด้าน Digital Waste Management ต้นแบบ มูลค่าการลงทุนทั้งหมดประมาณ 1.4 พันล้านบาทในช่วงปี 2567