นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.31 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.18 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค หลังจากที่เมื่อคืนนี้ ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดมาก ประกอบกับการประมูลพันธบัตร 5 ปี ออกมาค่อนข้างแย่ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ขึ้นต่อ ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบ สกุลเงินส่วนใหญ่
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.10 - 36.40 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม วันนี้ คือ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย ส่วนสหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2566
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.35000 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 150.26 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 149.93 เยน/ดอลลาร์ โดยเงินเยนอยู่ในระดับอ่อน
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0556 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0568 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.131 บาท/ดอลลาร์
- รัฐบาลเล็งยกเลิกแจก "เงินดิจิทัล" คนรวย ชงนายกฯ ตัดสิน 2 ทางเลือกสัปดาห์หน้า แจกเฉพาะถือบัตรคนจน
- คลังรับต้นทุนพอร์ตเงินกู้รัฐบาลพุ่ง หลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่กว่า 3% จากสิ้นเดือนส.ค.อยู่ที่
- "แบงก์กรุงเทพ" เผยรัฐบาลเร่งผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ คาดเป็นโอกาส
- 'ทิสโก้'เปิดสถิติสงคราม 6 ครั้ง มองราคาทอง-น้ำมันปรับขึ้นรับข่าวสงครามแล้ว แนวโน้มขาขึ้นมีจำกัด คาดปี'67
- มท.ไฟเขียวเตรียมออกกฎกระทรวงขยายเวลา "เปิดผับ-บาร์ถึงตี 4" ในพื้นที่ จว.ท่องเที่ยวกระตุ้นท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่น
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นแตะระดับ 4.95% ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะตรึง
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (25 ต.ค.)
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (25 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะ
- นักลงทุนจับตาสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2566 ในวันนี้ ซึ่งจะเป็น
ทั้งนี้ ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้ บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)