ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.21 แข็งค่าเล็กน้อย รับดอลลาร์อ่อนค่าหลังบอนด์ยีลด์ชะลอ จับตา Flow

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 27, 2023 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.21 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าเล็ก น้อยจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.24 บาท/ดอลลาร์ โดยบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่า เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ย่อตัวลงตามทิศทางของบอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวลดลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ออกมาเป็นแบบผสม โดยตัวเลขจีดีพีไตรมาสสามของสหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาด ขณะที่ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์แย่กว่าคาด

ส่วนปัจจัยในประเทศเป็นเรื่องความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ยังมีความสับสน โดยต้องจับตาดูทิศทาง ของเงินทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร

"บาทแข็งค่าตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์พักตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาเมื่อ คืนนี้เป็นแบบผสม โดยดอลลาร์ย่อลงตามบอนด์ยีลด์ " นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.10 - 36.35 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.23750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 150.31 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 150.30/31 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0557 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0544/0545 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.344 บาท/ดอลลาร์
  • นายกฯ เผยรับทราบ 3 ข้อเสนอคณะอนุฯ ขับเคลื่อน "หมื่นดิจิทัล" แล้ว ขอหารือเลขาธิการสภาพัฒน์ ยังไม่สรุปลดกลุ่ม
เป้าหมาย รอเปิดเผยทีเดียว "จุลพันธ์" แย้มตัดเงินเดือน 5 หมื่นบ. ลั่นโครงการเกิดแน่ 100% "ศิริกัญญา" เชื่อถึงทางตัน แนะทบทวน
ใหม่ ป.ป.ช. ตั้ง "สุภา ปิยะจิตติ" นั่งประธานศึกษาฯ เติมเงินดิจิทัล
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ในช่วง 10 เดือน ปี 66 (ม.ค.-ต.ค.) นักท่องเที่ยวในตลาด
ระยะไกล ทั้งยุโรป อเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง เดินทางเที่ยวไทยแล้วกว่า 6 ล้านคน โดยเชื่อว่าที่เหลืออีก 2 เดือนจะเป็นไป
ตามเป้าหมายที่ 8 ล้านคนแน่นอน
  • ตลาดหุ้นปิดร่วงหนัก 30.48 จุด นิวโลว์รอบ 3 ปี "ภากร" แจงดัชนีดิ่งตามตลาดหุ้นทั่วโลก หลังสงครามตึงเครียด เชื่อ
ปัจจัยพื้นฐานยังดี มีโอกาสรีบาวนด์กลับ เผยปี 66 ต่างชาติขายแล้ว 1.7 แสนล้านบ. โบรกฯ คาดตลาดฯ รีบาวนด์ทางเทคนิค แต่ปัจจัย
ลบรุมเร้า ยังให้น้ำหนักขาลงอยู่
  • กกพ.เผยแนวโน้มค่าไฟฟ้างวดใหม่ (ม.ค.-เม.ย.67) ส่อแววขยับขึ้นกลับมาเฉลี่ยทะลุ 4 บ./หน่วย รับราคา LNG และ
ก๊าซฯ เอราวัณ มีผลกระทบหลัก ลุ้นรัฐบาลอุ้ม "ก.อุตฯ" เตรียมชงขอขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้า รง. 4 บาท/กก.
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อคืนวานนี้ตามการคาดการณ์ของตลาด โดยเป็นการคง
อัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค.2565
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตร
มาส 3/2566 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 4.9% ในไตรมาสดังกล่าว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.7%
หลังจากมีการขยายตัว 2.0% และ 2.1% ในไตรมาส 1 และ 2 ตามลำดับ
  • นักวิเคราะห์จากบริษัท AXS Investments กล่าวว่า แม้ตัวเลข GDP ไตรมาส 3 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะรอดพ้นจาก
ภาวะถดถอย แต่นักลงทุนก็กังวลว่าเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเช่นนี้อาจจะทำให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คิด
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 10,000 ราย สู่ระดับ 210,000 รายใน
สัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 207,000 ราย
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (26 ต.
ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพฤหัสบดี (26 ต.ค.) เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวัน
ออกกลางยังคงเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างไรก็ดี ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงได้สกัดแรงบวกของสัญญา
ทองคำในระหว่างวัน
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐในวันนี้ ได้แก่ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.ย. และดัชนี
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนก.ย.ของสหรัฐในวันนี้ โดย
ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุม
ราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ