นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.46 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.54 บาท/ดอลลาร์
เย็นนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากเช้า และเป็นการปรับแข็งค่าสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์ยังมีทิศทาง อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐออกมาต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหว ในกรอบ 35.35-35.51 บาท/ดอลลาร์
"วันนี้เงินบาทแข็งค่าตามภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินในช่วงนี้ ตลาดยังย่อยข่าวตัวเลข จ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่ประกาศเมื่อคืนวันศุกร์ ซึ่งออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด" นักบริหารเงิน ระบุ
สำหรับวันพรุ่งนี้ ตลาดรอดูการรายงานดุลการค้าของจีน ส่วนคืนวันที่ 9 พ.ย. ตลาดจับตาถ้อยแถลงของประธานธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ย หลังตัวเลขการจ้างงานสหรัฐ ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.40-35.60 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.63 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 149.55 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0753 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0753 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,417.21 จุด ลดลง 2.55 จุด (-0.18%) มูลค่าการซื้อขาย 42,924.19 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,117.57 ลบ. (SET+MAI)
- กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ต.ค.66 ลดลง 0.31% ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25
อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ ไม่กังวลว่าจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากเศรษฐกิจไทยโดยภาพรวมแล้วยังมีทิศทางที่ดี ไม่ว่า จะเป็นภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และตัวเลข GDP และคงคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 66 ไว้ที่ 1.0-1.7%
- รมว.แรงงาน ลั่น ในปีนี้จะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างแน่นอน แต่คงไม่ใช่ขึ้นเป็น 400 บาท/วัน ทั่วประเทศ
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผย ได้เตรียมประเมินผลนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่น
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เผยแพร่รายงานการประชุมซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-22 ก.ย. โดยระบุว่า คณะกรรมการ
- ธนาคารบาร์เคลย์สของอังกฤษ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุม
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน เดือนต.ค. ลดลงสู่ระดับ 46.5 ซึ่งเป็น
ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่พ.ย.63 ซึ่งเป็นช่วงที่ดำเนินมาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวดในพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป ซึ่งการชะลอตัวของ
กิจกรรมทางธุรกิจของยูโรโซนย่ำแย่ลง บ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยูโรโซน