นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.51 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.46 บาท/ดอลลาร์
เช้านี้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์ฟื้นตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก หลัง ปรับตัวอ่อนค่าไปมาก โดยมีแรงซื้อดอลลาร์กลับเข้ามา และบอนด์ยีลด์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ขณะที่เริ่มมีกระแสเงินทุนต่างประเทศ (Flow) ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลไม่ให้เงิน บาทอ่อนค่าไปมาก
"บาทอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ ตามภูมิภาคหลังดอลลาร์ฟื้นตัวกลับมาแข็งค่า แต่บาทคงไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะเริ่มมี Flow ไหลกลับเข้ามาลงทุนในพันธบัตรมากขึ้น" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.40 - 35.65 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 150.06 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 149.63 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0711 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0753 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.433 บาท/
- "จุลพันธ์" รมช.คลัง เผยนายกฯ เตรียมแถลง สรุปแจกเงินดิจิทัลด้วยตัวเอง 10 พ.ย. พร้อมรายงาน ครม.รับ
- นายกฯ เร่งคณะทำงานศึกษาปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ-ค่าแรงขั้นต่ำ ต้องรายงานความเป็นไปได้สิ้นเดือน พ.ย.
- พาณิชย์ ยันไร้กังวลเงินฝืด ไม่มีสัญญาณลบ หลังเงินเฟ้อไทยเดือน ต.ค. 66 ติดลบ 0.31% ติดลบครั้งแรกในรอบ
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์
- นางลิซา คุก หนึ่งในสมาชิกบอร์ดผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า ระบบการเงินของสหรัฐยังคงมี
- นักลงทุนจับตาการกล่าวถ้อยแถลง 2 ครั้งของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใน
- นักลงทุนให้ความสำคัญกับการประมูลพันธบัตรของกระทรวงการคลังสหรัฐ เพื่อประเมินทิศทางของอัตราผลตอบแทน
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐที่เปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดุลการค้าเดือนก.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
- ค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่นลดลงในเดือนก.ย. เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ลดลงหลาย
เดือนติดต่อกัน เนื่องจากราคาที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือน และมีแนวโน้มเพิ่มแรงกดดันจากกลุ่มแรงงานเพื่อให้มี
การปรับขึ้นค่าจ้าง ตลาดการเงินทั่วโลกให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด กับแนวโน้มค่าจ้างในญี่ปุ่นซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของ
โลก ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ถือว่าการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นปัจจัยสำคัญต่อการยกเลิกนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ