นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.89 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.55 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก เนื่อง จากได้รับปัจจัยหนุนจากบอนด์ยิลด์ที่สูงขึ้น หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณยังไม่ปิดทางเลือกที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้ ปัญหาเงินเฟ้อ
ขณะที่นักลงทุนในตลาดพันธบัตรจับตาดูการแถลงข่าวเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ในช่วงบ่ายวันนี้
"บาทอ่อนค่าขึ้นมามากตามทิศทางตลาดโลก หลังบอนด์ยิลด์ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากประธานเฟดส่งสัญญาณยังไม่ปิดทางเลือกที่ จะขึ้นดอกเบี้ย" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.65 - 35.95 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.78500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 151.33 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 151.03 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0664 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0694 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.482 บาท/ดอลลาร์
- นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการแถลงข่าวชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการเติมเงิน 1 หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต
- "เศรษฐา" แถลง 60 วันรัฐบาล ยืนยันสร้างผลงานแบบ "ควิกวิน" ย้ำ บทบาท "เซลส์แมน" หวังดึงต่างชาติลงทุน
- วายแอลจีฯ ชี้ราคาทองคำอยู่ในช่วงพักตัวหาฐานใหม่ หลังเจอปัจจัยลบรุม จีนเสี่ยงภาวะเงินฝืด เฟดส่งสัญญาณเงินเฟ้อ
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวสุนทรพจน์ในงานเสวนากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังไม่มั่นใจว่า
- ข้อมูลล่าสุดจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนยังคงคาดการณ์ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่
- นักวิเคราะห์จากบริษัท Spartan Capital Securities กล่าวว่า การแสดงความเห็นของประธานเฟดเป็นการส่ง
- กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 3,000 ราย สู่ระดับ 217,000 รายใน
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (9 พ.
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้ โดยอังกฤษจะเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส
3/2566 (ประมาณการเบื้องต้น), การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย. และดุลการค้าเดือนก.ย. ส่วนมหาวิทยาลัยมิชิแกนจะเปิดเผยดัชนี
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ย.ของสหรัฐ