ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.09 แข็งค่าจากช่วงเช้าตามภูมิภาค แม้เศรษฐกิจไทย Q3/66 โตต่ำกว่าคาด

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 20, 2023 17:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.09 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 35.18 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลกเนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่า ระหว่าง วันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.02 - 35.19 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทปรับตัวแข็งค่าตามภูมิภาคลงไปใกล้ระดับต่ำสุดเมื่อวันที่ 1 ก.ย.66 ถึงแม้ตัวเลขจีดีพีที่สภาพัฒน์ประกาศออกมาเมื่อ เช้าจะแย่กว่าคาดแต่มีผลในวงจำกัด" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.00 - 35.25 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.26 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 149.90 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0934 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 1.0898 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,419.44 จุด เพิ่มขึ้น 3.66 จุด, +0.26% มูลค่าการซื้อขาย 37,420.63 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,800.75 ล้านบาท
  • สภาพัฒน์ เผยจีดีพีไตรมาส 3/66 ขยายตัว 1.5% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.0 -2.2% โดยขยายตัว
ชะลอลงจาก 1.8% ในไตรมาส 2/66 เป็นผลจากการส่งออกรวมหดตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 4/65 พร้อมคาดแนวโน้ม
เศรษฐกิจไทยในปี 66 ขยายตัว 2.5% จากเดิมคาดโต 2.5-3.0% ส่วนปี 67 ขยายตัวในช่วง 2.7-3.7%
  • นายกรัฐมนตรี ยอมรับเป็นห่วงหลังสภาพัฒน์แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 3/66 ที่ออกมาโตเพียง 1.5% โดยจะเร่งผลักดัน
เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4/66 ให้ขยายตัวดีขึ้น
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 ปี 2566 หดตัวเล็กน้อย 0.9% จากช่วง
เดียวกันปีก่อน จากการทยอยชำระคืนหนี้ของภาคธุรกิจ หลังเร่งขยายตัวต่อเนื่องเพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงโควิด โดยเฉพาะธุรกิจ
SMEs ธุรกิจขนาดใหญ่กลุ่มส่งออกและภาครัฐ ประกอบกับมีการบริหารจัดการคุณภาพหนี้ของธนาคารพาณิชย์ โดยสินเชื่อธุรกิจยังขยายตัวได้
ในธุรกิจกลุ่มโฮลดิ้งและก่อสร้าง
  • บริษัทแปซิฟิก อินเวสเมนท์ แมเนจเมนท์ (พิมโค) ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนพันธบัตรรายใหญ่สุดของโลก ยังคงเดินหน้า
ซื้อเงินเยน ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะถูกกดดันให้ใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น
อย่างรวดเร็ว
  • นักกลยุทธ์การลงทุนด้านปริวรรตเงินตราของธนาคารดอยซ์แบงก์ แนะธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ควรจะยุติการใช้นโยบาย
ผ่อนคลายการเงินแบบพิเศษ (Ultra-loose Monetary Policy) โดยเร็วเพื่อพยุงค่าเงินเยน
  • นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า อินเดียจะยังคงใช้มาตรการควบคุมการส่งออกข้าวจนถึงปีหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวพุ่งขึ้นใกล้
แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 2551 ที่เกิดวิกฤตอาหารโลก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ