ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.19/21 อ่อนค่าจากช่วงเช้าสอดคล้องภูมิภาค รับแรงขายพันธบัตร

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 21, 2023 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.19/21 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 35.09 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.05 - 35.22 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทอ่อนค่า เช่นเดียวกับสกลุเงินในภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า จากราคาทองคำลง ประกอบกับวันนี้ต่างชาติขาย พันธบัตรไทยติดลบประมาณ 1,700 ล้านบาท จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าในช่วงบ่าย

"ในช่วงนี้ยังไม่มีปัจจัย ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวตามราคาทองคำและบอนด์ยิลด์สหรัฐ เงินบาทที่แข็งค่าน่าจะชะลอตัวลงจนกว่าจะมี ปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา ทั้งนี้ ดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นได้ หากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่จะประกาศวันศุกร์นี้ ออกมาดีกว่าคาด ส่วนคืนนี้และคืนพรุ่งนี้ ยังไม่มีตัวเลขที่ต้องติดตาม" นักบริหารการเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.05 - 35.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 147.75/79 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 148.05 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0943/0947 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 1.0952 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,423.61 จุด เพิ่มขึ้น 4.17 จุด (+0.29%) มูลค่าซื้อขาย 37,772.79 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 519.47 ลบ.
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมติหลักการร่างกฎกระทรวง ภายใต้มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืน
ของประเทศไทย กำหนดให้เงินได้ของบุคคลธรรมดาที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน "กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG
Fund หรือ TESG)" ในอัตราไม่เกิน 30% ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรวม
คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ มีผลตั้งแต่วันที่ ครม.มีมติอนุมัติไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 75 และการขายคืนหน่วยลงทุนไม่ต้องนำเงินหรือผล
ประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อ
  • วิจัยกรุงศรี เตรียมปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 66 ลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.8% โดยมีปัจจัยลบจาก GDP ไตร
มาส 3 เติบโตต่ำกว่าคาด รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทย อาจต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 28.5 ล้านคน
  • กบข. คาดการณ์สภาวะตลาดโลกและมุมมองการลงทุนระยะข้างหน้า เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลาย
ปี หลังจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวไทยที่ท่องเที่ยวตามฤดูกาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกที่มีสัญญาณที่ดี ตามการฟื้น
ตัวของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชีย
  • Krungthai COMPASS ประเมินว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 67 จะฟื้นตัวดีขึ้นสอดคล้องกับมุมมอง
ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ที่คาดว่า GDP ปี 67 จะขยายตัวเร่งขึ้นในกรอบ 2.7-3.7% (ค่า
กลางที่ 3.2%) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออก ที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวในปีหน้า ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเร่ง
ตัวขึ้น
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 66 ลงมาอยู่ที่ 2.5% จากประมาณการก่อนหน้าที่ 3.0% หลัง
จากสภาพัฒน์ รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3/66 ขยายตัวได้เพียง 1.5% ซึ่งต่ำกว่าที่คาด ส่งผลให้ 9 เดือนแรก เศรษฐกิจ
ไทย ขยายตัวได้ 1.9% ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในไทย 67 โดยมองว่ามีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในอัตราที่เร่งขึ้น
จากปี 66 โดยมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ แม้แรงส่งจะลดลงในปีหน้า
  • รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า จำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา ทั้งสิ้น 23,854,242 คน
สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 1,010,206 ล้านบาท
  • นักวิเคราะห์ของดีบีเอส และแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบอลคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยอาจจะได้รับผลกระทบจากนโยบาย
คุมเข้มด้านการเงินในอนาคต โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนก.ย.
ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันครั้งที่ 8 พร้อมระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออาจจะปรับตัวสูงขึ้นในปีหน้า

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ของโนมูระคาดการณ์ว่า ธปท.จะระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 29 พ.ย. และอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมไปจนถึงปี 2567

  • ศรีลังกาวางแผนที่จะสรุปการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับไทยในเดือนธ.ค.และลงนามในข้อตกลงดังกล่าวในวัน

ที่ 3 ก.พ. 2567


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ