นายจุฬาสุขมานพเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกครั้งที่1/2566เมื่อวันที่8ธันวาคม2566ที่มีนายสุริยะจึงรุ่งเรืองกิจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานได้พิจารณาเห็นชอบข้อเสนอการบูรณาการทำงาน ร่วมกันของหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ สกพอ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อลดความซ้ำซ้อนการดำเนินงานหน่วยงานภาครัฐ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ของประเทศ ที่สำคัญ ๆ
อาทิ ด้านพื้นที่การให้สิทธิประโยชน์ สกพอ. จะให้สิทธิประโยชน์เฉพาะในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ตามมาตรา 48 ของ พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 35 เขต แบ่งเป็นพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม 28 แห่ง และพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 7 แห่ง โดยพื้นที่นอกเหนือเขตส่งเสริมฯ ดังกล่าว จะเป็นไปตามกฎหมาย ของบีโอไอและ กนอ. ด้านผู้รับสิทธิประโยชน์ สกพอ. จะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ ต้องเป็นโครงการที่ไม่เคยได้รับการส่งเสริมลงทุน และไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ร่วมกับโครงการจากบีโอไอมาก่อน กรณีโครงการเคย ได้รับส่งเสริมลงทุนจากบีโอไอ สกพอ. จะพิจารณาเฉพาะสิทธินอกเหนือ เช่น สิทธิประโยชน์ถือครองห้องชุด สิทธิประโยชน์ ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากร เป็นต้น
ด้านการอนุมัติอนุญาตตามกฎหมาย สกพอ. ได้มีระบบบริการภาครัฐแบบ เบ็ดเสร็จครบวงจร (EEC One Stop Service) รองรับการอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต รับแจ้งจดทะเบียนตามกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายว่าขุดดินถมดิน การควบคุมอาคาร การจดทะเบียนเครื่องจักร กฎหมายคนเข้าเมือง เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องร่วมกับ บีโอไอ และกนอ. เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงาน โดยสิทธิประโยชน์ของสกพอ. จะเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้ สกพอ. บีโอไอ และกนอ. และหน่วยงานที่เกียวข้อง มีคณะทำงานร่วมกัน ทำหน้าที่ เป็นกลุ่มนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพื่อเป็นศูนย์กลางรับรองนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และ ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ได้พิจารณาเรื่องการขยายพื้นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมโดยให้อีอีซีหารือกรมโยธาธิการ(ยผ.)เรื่องผังสีเนื่องจากตามกฎหมายผังเมืองจะต้องตั้งอยู่บนผังเมืองสีม่วงเท่านั้นซึ่งมีการหารือกันว่าผังเมืองสีเหลืองควรแบ่งไปสร้างโรงงานได้และยังหารือประเด็นการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)ที่ต้องเก็บข้อมูลปฐมภูมิที่เกี่ยวกับอากาศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้ครบทุกฤดูใช้เวลามากกว่า1ปีจึงมอบให้อีอีซีหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขอใช้รายงานข้อมูลทุติยภูมิจากพื้นที่ใกล้เคียงที่มีอยู่แล้วแทนเพื่อลดเวลาเก็บข้อมูลในการทำรายงานEIAเพื่อสามารถนำพื้นที่มาพัฒนาได้เร็วขึ้น สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้ EEC Project Lists นายจุฬากล่าวว่า ที่ประชุม ฯ ได้รับทราบความก้าวหน้า โครงการลงทุน 4 โครงสร้างพื้นฐานหลักของอีอีซี มีรายละเอียดสำคัญ ๆ ดังนี้
1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีมติให้เร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ส่วนที่เหลือ ช่วงพญาไทถึงบางซื่อให้ เสร็จภายใน พ.ค.2567 ส่วนพื้นที่อื่น มีความพร้อมสำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่เชิงพาณิชย์ (transit oriented development, TOD) แล้ว คงเหลือแต่รอให้เอกชนคู่สัญญาส่งเอกสารไปที่บีโอไอเพื่อรับบัตรส่งเสริมการลงทุน เพื่อครบเงื่อนไข เริ่มต้นโครงการที่กำหนดในสัญญา ซึ่ง รฟท จะเร่งรัดเอกชนคู่สัญญาให้แล้วเสร็จภายใน ม.ค. 2567
ทั้งนี้ การออก NTP ให้เอกชนเริ่มงาน มีเงื่อนไขต้องให้บริษัทเอเชียเอราวันจำกัดเอกชนคู่สัญญารับบัตรส่งเสริมการลงทุนซึ่งอยู่ระหว่างส่งเอกสารเพิ่มเติมและมีการขยายเวลาล่าสุดจะสิ้นสุดวันที่22ม.ค. 2567 หากไม่มีการขยายเวลาจะมีผลกระทบ ดังนั้นเมื่อวันที่22พ.ย. 2566รฟท.ได้มีหนังสือหารือสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอความชัดเจนว่าหากเอกชนยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมและไม่ไปจดทะเบียนการเช่าพื้นที่TODรฟท.จะสามารถยกเว้นเงื่อนไขและออกNTPได้หรือไม่ หาก ทำได้ รฟท.จะออก NTP ในเดือนม.ค.67
ส่วนการแก้ไขสัญญาร่วมทุนเงื่อนไข"เหตุสุดวิสัย"กรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรคหรือมีสงครามที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการและมีการตกลงเงื่อนไขให้เอกชนผ่อนชำระค่าสิทธิร่วมลงทุนโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์(ARL)จำนวน10,671.09ล้านบาทนั้นจะหารือในวันที่13ธ.ค.2566จากนั้นจะส่งร่างสัญญาร่วมทุนฯแก้ไขเพิ่มเติมให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจหลังจากนั้นจะเสนอกพอ.และเสนอครม.ต่อไปโดยหลังแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯเอกชนคู่สัญญาต้องชำระค่าสิทธิARLจำนวน3งวดแรกสำหรับปี2564 ,2565,2566ส่วนงวดที่4จะชำระในวันที่24ตุลาคม2567
2. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มีมติให้เร่งรัดกองทัพเรือประกาศจัดซื้อจัดจ้าง งานก่อสร้างทางวิ่ง 2 และทางขับ ภายในกลาง ธ.ค. 2566 และเร่งรัดให้ สกพอ. รฟท. และเอกชนคู่สัญญาโครงการรถไฟ ความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและเอกชนคู่สัญญาโครงการสนามบินอู่ตะเภาสรุปแผนการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เงื่อนไขการเริ่มต้นโครงการครบสมบูรณ์ตามที่กำหนดในสัญญา และโครงการสนามบินอู่ตะเภา สามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายใน ม.ค. 2567
โดยได้เร่งรัด ให้สกพอ.รฟท.และเอกชนคู่สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและเอกชนคู่สัญญาสนามบินอู่ตะเภาสรุปแผนการทำงานร่วมกันเรื่องอุโมงค์รถไฟลอดใต้รันเวย์ด้วย
ทั้งนี้ การก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 การเตรียมให้บริการการเดินอากาศ ของบริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จำกัด โครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา สถาบันการบินพลเรือน โครงการศูนย์ซ่อม บำรุงอากาศยานอู่ตะเภา บมจ.การบินไทย (THAI) โครงการพัฒนาการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน อยู่ระหว่างการ ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดเพื่อเตรียมรองรับการให้บริการต่อไป
3. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีมติให้ การท่าเรือแห่งประเทศไทยเร่งรัด และกำกับการก่อสร้างงาน ถมทะเล (Infrastructure) ให้แล้วเสร็จและส่งมอบพื้นที้ให้เอกชนคู่สัญญาภายใน พ.ย. 2568 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน และคาดว่าเอกชนคู่สัญญาจะก่อสร้างโครงสร้างท่าเรือ (Superstructure) ในส่วนท่าเรือ F1 แล้วเสร็จและเปิดบริการปลายปี 2570
4. โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีมติให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ติดตาม การถมทะเล (Infrastructure) ของเอกชนคู่สัญญา ให้แล้วเสร็จภายในธ.ค. 2567 (ปัจจุบันงานมีความคืบหน้าแล้วประมาณ 69.64%) และคาดว่าเอกชนคู่สัญญาจะก่อสร้างโครงสร้างท่าเรือก๊าซเสร็จและเปิดเบริการต้นปี 2570