นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV 3.5) ในช่วงเวลา 4 ปี (67-70) โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.67 เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค
สำหรับมาตรการ EV 3.5 จะครอบคลุมทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เงินอุดหนุน การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยเงินอุดหนุนจะเป็น ไปตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ ดังนี้
- กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh ในปีที่ 1 จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000
สำหรับรถที่มีขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh ในปีที่ 1 จะได้รับเงินอุดหนุน 50,000 บาท/คัน ในปีที่ 2 จะได้รับเงินอุด หนุน 35,000 บาท/คัน และในปีที่ 3-4 จะได้รับเงินอุดหนุน 25,000 บาท/คัน
- กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน
- กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 10,000
นอกจากนี้ ภายใต้มาตรการ EV 3.5 จะมีการลดอากรขาเข้าไม่เกิน 40% สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก (67 - 68) และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท โดยได้กำหนดเงื่อนไขการลงทุนในประเทศ ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยการนำเข้าภาย ในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) และจะเพิ่มอัตราส่วนเป็น 1 : 3 ในปี 70 โดยเปิดโอกาสให้ผู้ ประกอบการรายเดิมที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 แล้ว หากมีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการ EV3.5 ให้สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ ได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละมาตรการ
ภายใต้มาตรการ EV3.5 กรมสรรพสามิตคาดว่าจะมียานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการสนับสนุนตลอดระยะเวลา 4 ปี จำนวน ประมาณ 830,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 454,000 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 346,000 คัน และรถกระบะไฟฟ้า 30,000 คัน โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 34,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 4 ปี
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมสรรพสามิตขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV 3 จาก เดิมที่ต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธ.ค.66 ให้ขยายเวลาเป็นต้องจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธ.ค.66 และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ม.ค.67 เพื่อให้ผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าในช่วงปลายปี 66 สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในเดือนม.ค.67
นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำหรับมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ ไฟฟ้าระยะแรก หรือ EV 3 ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีผู้นำเข้าและผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 ที่ได้ทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกับกรมสรรพสามิต จำนวน 19 ราย มีรถยนต์ที่ได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการ EV3 จำนวน 28,841 คัน และรถไฟฟ้าที่มีการนำเข้าแต่ยังไม่ได้ยื่นขอรับเงิน อุดหนุน จำนวน 61,436 คัน โดยผลของมาตรการ EV3 ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มูลค่ารวม 61,425 ล้านบาท จากโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การผลิตชิ้นส่วนสำคัญ รวมถึงสถานีอัดประจุ ไฟฟ้า
ตารางสรุปสิทธิประโยชน์ของมาตรการ EV 3.5 ประเภทรถ ขนาดแบตเตอรี่ เงินอุดหนุน (บาท/คัน) ลดอากรขาเข้า CBU ลดภาษีสรรพสามิต - รถยนต์นั่ง ตั้งแต่ 50 kWh 100,000 ในปีที่ 1 ไม่เกิน 40% จาก 8% เหลือ 2% (ไม่เกิน 2 ล้านบาท) 75,000 ในปีที่ 2 นำเข้าช่วงปี 50,000 ในปีที่ 3-4 2567-2568 10 - <50 kWh 50,000 ในปีที่ 1 ไม่เกิน 40% จาก 8% เหลือ 2% 35,000 ในปีที่ 2 นำเข้าช่วงปี 25,000 ในปีที่ 3-4 2567-2568 - รถยนต์นั่ง ตั้งแต่ 50 kWh - อัตราปกติ จาก 8% เหลือ 2% (เกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท) - รถกระบะ ตั้งแต่ 50 kWh 100,000 อัตราปกติ อัตราปกติ (ไม่เกิน 2 ล้านบาท) (เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ) - รถจักรยานยนต์ ตั้งแต่ 3 kWh 10,000 อัตราปกติ อัตราปกติ (ไม่เกิน 150,000 บาท) (เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ)