นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.58 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.52 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุล เงินหลัก ตามบอนด์ยีลด์ที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีเกินคาด
ส่วนปัจจัยในประเทศต้องรอดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ ทั้งจากตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และผู้ค้าทอง โดยเมื่อวานต่าง ชาติขายหุ้น 5 พันล้านบาท ขายพันธบัตร 1 พันล้านบาท และแรงซื้อทองหลังราคาในตลาดโลกลดลง 20 ดอลลาร์/ออนซ์
"บาทอ่อนค่าต่อเนื่องตามทิศทางตลาดโลก เกาะกลุ่มไปกับค่าเงินภูมิภาค บาทไม่น่าจะอ่อนค่ามากกว่านี้ หลังปรับตัวอ่อนค่าขึ้น มาเร็วเกือบ 1 บาท" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.50 - 35.75 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.59500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.21 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.72 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0882 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี่ที่ระดับ 1.0875 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.549 บาท/ดอลลาร์
- รมว.การท่องเที่ยวฯ ประกาศเคลื่อน 7 นโยบายหลัก ชูพลังซอฟต์พาวเวอร์ ความปลอดภัย พร้อมยกระดับสู่จุดหมายปลาย
- กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุเมื่อวานนี้ (17 ม.ค.) ว่า เศรษฐกิจจีนเติบโตบรรลุเป้า
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนธ.ค. 2566 เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นัก
- นักลงทุนปรับลดน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. และเพิ่ม
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ (17 ม.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนธ.