นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.63 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 35.66 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก แต่ตลาดยังขาดปัจจัยชี้นำใหม่ ส่วนการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี โอเจ) ในวันนี้ตลาดคาดจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะมีผลต่อค่าเงินเยนเท่านั้น
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.50 - 35.75 บาท/ดอลลาร์ ส่วนปัจจัยในประเทศ ต้องตามดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ โดยเมื่อวานต่างชาติขายหุ้น 4 พันล้านบาท และขายพันธบัตร 900 ล้านบาท
"ตลาดยังขาดปัจจัยชี้นำใหม่ ช่วงนี้ต้องดู Flow ในตลาดหุ้นและพันธบัตร เมื่อวานยังมีแรงขายออกจากต่างชาติ" นักบริหาร
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.62500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนทรงตัวเท่ากับช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 148.11 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0880 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0897 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.572 บาท/ดอลลาร์
- "เคเคพี" ส่องค่าเงินบาท ไตรมาส 2 ปี 67 จ่ออ่อนค่าทะลุ 36.50 บาทต่อดอลลาร์ หากเฟดไม่ลด "ดอกเบี้ย" เร็ว
- นายกฯ ลงพื้นที่ จ.ระนอง ประชุมครม.สัญจร รับฟังความเห็นชาวบ้านผุดโครงการ "แลนด์บริดจ์" มั่นใจสร้างอาชีพและ
- "กรอ.กลุ่มภาคใต้อันดามัน" อนุมัติ 20 โครงการเข้า ครม.สัญจรระนอง วงเงิน 797 ล้าน ฟื้นเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว
- ททท.ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ท่องเที่ยวจังหวัดระนองให้ได้ 7,000 ล้านบาทในปีนี้ จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 6,727 ล้านบาท
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (22
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (22 ม.ค.) หลังจากนักลงทุนปรับลดน้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าธนาคาร
- นักลงทุนเทน้ำหนักให้กับการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ก่อนที่จะปรับลด
- ยูบีเอสออกรายงานคาดการณ์ว่า ราคาทองจะปิดตลาดในปีนี้พุ่งขึ้น 10% จากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 2,250 ดอลลาร์ โดย
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2566, ดัชนี
- นักลงทุนจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของ ECB ในวันพฤหัสบดีนี้ (25 ม.ค.) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลา
- นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา (BofA), บาร์เคลย์ และไอเอ็นจี (ING) คาดการณ์ว่า BOJ จะไม่เปลี่ยนแปลง