ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.69 ทรงตัวจากช่วงเช้า ตลาดรอตัวเลข PMI สหรัฐ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.55-35.85

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 24, 2024 17:52 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.69 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวอยู่ใน ระดับเดียวกับเปิดตลาดเมื่อเช้า

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.69 - 35.88 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวตามสกุลเงินในภูมิภาค โดยระหว่างวัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐย่อลง ประกอบกับหุ้นเด้งขึ้น จากปัจจัยที่ประเทศจีนมีแผนตั้งกองทุนเสถียรภาพตลาด ทุน และในประเทศมีข่าวการเมืองเรื่องหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

สำหรับคืนนี้ รอติดตามรายงานดัชนี PMI ของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.55 - 35.85 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.56 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 148.11 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0902 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0853 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,381.19 จุด เพิ่มขึ้น 24.65 จุด (+0.82%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 53,763.46 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 545.70 ล้านบาท
  • กระทรวงการคลัง ยืนยันตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ขยายตัวได้ 1.8% โดยเป็นตัวเลขที่หารือร่วมกับ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
แล้ว และหากจะให้เศรษฐกิจไทยในปี 66 เติบโตมากกว่า 2% นั้น เศรษฐกิจในไตรมาส 4/66 จะต้องโตถึง 4-5% ซึ่งยังมองไม่เห็น
สัญญาณดังกล่าว และคาดว่าไตรมาส 4/66 เศรษฐกิจไทยจะโตได้แค่ 1.4% เท่านั้น
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คาดเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะขยายตัวได้ 2.5% ก่อนเพิ่มเป็น 3.1% ในปี 67 แต่หากมีโค
รงการดิจิทัลวอลเล็ตจะโตได้ 3.6% พร้อมมองว่า โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 15%
  • KBANK มองเงื่อนไขที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย จะกลับทิศมาเป็นปรับลดลงได้นั้น มาจากปัจจัยเรื่องอัตราแลก
เปลี่ยน เพราะถ้าเงินบาทแข็งค่าจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก และการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ โดยหากค่าเงินบาทไปอยู่ใกล้เคียง
ระดับ 33 บาท/ดอลลาร์ โอกาสที่จะเห็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาปรับลดดอกเบี้ยก็จะมีมากขึ้น
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำให้ทางการไทย เดินหน้าการปรับนโยบายการคลังให้กลับสู่ภาวะปกติใน
ระยะใกล้นี้ ขณะเดียวกันก็ควรดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างจริงจัง เพื่อกระตุ้นขีดความสามารถในการผลิตและการเติบโต และ
เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีความยืดหยุ่น
  • IMF ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจของไทย โดยคาดว่า GDP ของไทยในปี 2567 จะขยายตัว 4.4% เพิ่มขึ้นจากปี
2566 ที่ IMF ประมาณการว่าจะขยายตัว 2.5% อย่างไรก็ดี ก็มองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในทิศทางที่อ่อนแรงลง อันเนื่อง
มาจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น โดย IMF คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.7% เนื่องจากอุปสงค์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคบริการและการผลิตขั้นต้นของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 47.9 ในเดือนม.ค.67
จากระดับ 47.6 ในเดือนธ.ค.66 อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า กิจกรรมธุรกิจอยู่ในภาวะหดตัว และ PMI รวม
ภาคบริการและการผลิตของยูโรโซนหดตัวมาแล้วเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) ระบุว่า จีนจะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ในช่วงต้นเดือน
ก.พ.เพื่อนำเงินบางส่วนที่ถูกกันไว้ก่อนหน้านี้เข้าสู่ระบบ เพื่อส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจีนได้ ทั้งนี้ การปรับลด
RRR ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวให้กับตลาดได้ 1 ล้านล้านหยวน (1.39 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ)
  • ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3% ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งแรกของปี
2567 ซึ่งทำให้ BNM มีเวลามากขึ้นในการดำเนินการ หากแรงกดดันเงินเฟ้อปะทุขึ้นเมื่อรัฐบาลมาเลเซียยกเลิกมาตรการจ่ายเงินอุดหนุน
ด้านเชื้อเพลิงในช่วงต่อไปของปีนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ