ภาวะเศรษฐกิจในปี 2567 ยังคงท้าทายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ ดังนั้น ภาคธุรกิจจะต้องหาแนวทางและวางกลยุทธ์อย่างไร เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจในปีนี้ที่ยังคงชะลอตัว finbiz by ttb ได้รวบรวมข้อมูลเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการ เตรียมแผนรองรับ เพื่อให้ธุรกิจก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ และเติบโตได้ไม่สะดุด
1. เศรษฐกิจและการค้าโลกมีความไม่แน่นอนสูง ผู้ประกอบการควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกอย่างใกล้ชิด และเตรียมรับมือหากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าลง หรือเกิดการชะลอตัวกว่าที่คาดไว้ โดยกระจายความเสี่ยงทางการค้า เพิ่มตลาดส่งออกใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับตลาดภายในประเทศมากขึ้น อีกทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและบริการ ให้มีความยืดหยุ่น และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มองหาตลาด หรือกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่ธุรกิจมีความสามารถที่จะไปได้
2. ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนมากขึ้น เป็นความท้าทายที่ธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนอย่างรอบคอบ จัดการสภาพคล่องให้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ และพิจารณาการลดภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น
3. การบริโภคในประเทศอ่อนแอกว่าที่เห็น ธุรกิจควรศึกษาและให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น พัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ไม่ยึดติด และมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับการตลาดและการสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขาย เพิ่ม Touch Point (จุดที่ลูกค้าได้เจอกับสินค้าและบริการของเรา) ให้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของผู้บริโภค
4. เสถียรภาพเศรษฐกิจเปราะบางขึ้น ธุรกิจต้องบริหารจัดการต้นทุนอย่างรอบคอบ พิจารณาการปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า 4 แผนการรับมือหลักที่สำคัญ ประกอบไปด้วย จัดการกระบวนการที่ดีเพื่อช่วยลดต้นทุน บริหารการเงินให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง พัฒนาบุคลากรให้เป็นพนักงานคุณภาพ และวางแผนการตลาดที่มัดใจลูกค้า ทำให้ทุกการจับจ่ายของลูกค้าสะดวก และเกิดขึ้นได้ในหลากหลายช่องทาง
อย่างไรก็ตาม แผนการรับมือจะสมบูรณ์ได้ เมื่อผู้ประกอบการมีความเข้าใจ และเลือกใช้เครื่องมือในการสนับสนุน ดังนี้
1. จัดการกระบวนการที่ดีเพื่อช่วยลดต้นทุน
- ลดต้นทุนด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิด LEAN
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยในการจัดการด้านต้นทุนได้ เช่น บัตรเครดิตน้ำมันที่ช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายน้ำมัน และยังช่วยในการจัดการเส้นทาง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หรือการทำธุรกรรมต่างๆ บนระบบออนไลน์ เพื่อลดต้นทุน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
2. บริหารการเงิน ให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง
การหาแหล่งเงินทุนสำรอง พิจารณาสินเชื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสริมสภาพคล่อง รวมถึงสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ธุรกิจได้รับความสนใจมากขึ้นจากทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน และเลือกใช้บริการทางการเงินเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวน เช่น บริการสกุลเงินท้องถิ่นสำหรับการค้าระหว่างประเทศ
3. พัฒนาบุคลากรให้เป็นพนักงานคุณภาพ
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานด้วยสวัสดิการ และระบบจ่ายเงินเดือนที่มีประสิทธิภาพที่สามารถดูแลและจัดการได้อย่างครอบคลุม
4. วางแผนการตลาด
- เพิ่มจุด Touch Point ให้ลูกค้าสามารถเห็นสินค้าและบริการของธุรกิจเราได้ แบบเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกค้า และสามารถจับจ่ายได้ทันทีที่ตัดสินใจ ทำให้ทุกการจับจ่ายของลูกค้าสะดวก และเกิดขึ้นได้ในหลากหลายช่องทาง
- ใช้เครื่องมือที่ให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการชำระเงิน รวมถึงต้องสามารถทำได้ทันทีที่ตัดสินใจด้วยบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น เครื่องรูดบัตร EDC ลิงก์สำหรับรับชำระเงินที่สามารถรับได้ทั้งบัตรเครดิตและเดบิต รวมถึงการรับชำระด้วย QR Code และแอปพลิเคชันช่วยจัดการร้านค้า
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการตระหนักถึงสถานการณ์เศษฐกิจ และเตรียมแผนรับมือให้พร้อมอยู่เสมอ จะสามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนได้