นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.69 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.25 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุก สกุลเงินหลัก หลังได้รับแรงหนุนจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ตลาดปรับคาด การณ์เรื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน พ.ค.67 มีโอกาสน้อยลง
ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดติดตามาดูสถานการณ์ทางการเมือง และทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศ
"บาทปรับตัวอ่อนค่าขึ้นมามากตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลข Non-farm Payroll ที่ ออกมาดีเกินคาด ทำให้โอกาสที่เฟดจะปรับดอกเบี้ยมีน้อยลง" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.50 - 35.75 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.69500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 148.79 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 146.70 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 1.0767 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0896 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.317 บาท/ดอลลาร์
- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขดัชนีเศรษฐกิจการค้า (เงินเฟ้อ) เดือน ม.ค.67
- "พาณิชย์" ฟุ้งไทยลงนาม FTA ศรีลังกาแล้ว เผยมีการเปิดตลาดสินค้ากว่า 4 พันรายการ เคาะไทยถือหุ้นสาขาบริการ
- "นักเศรษฐศาสตร์" ฟันธง 7 ก.พ.นี้ กนง.คงดอกเบี้ยนโยบาย "ซีไอเอ็มบีไทย" เชื่อมีโอกาสลดครึ่งหลัง "ทีดีอาร์ไอ"
- แบงก์กรุงไทย (KTB) แนะจับตานักลงทุนขายทำกำไรทองคำ รับผลรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ หนุนค่าเงินบาทแข็ง
- กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 353,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. สูงกว่าที่
สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งทำให้ตลาดกังวลว่าอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตรา ดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้
- ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะลดลงอีก แต่ก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับ
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐชนะการเลือกตั้งรอบไพรมารีของพรรคเดโมแครตที่รัฐเซาท์แคโรไลนา ซึ่งถือเป็นการ
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนี ISM/PMI ภาคบริการเดือนม.ค. และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับ
- นักลงทุนจับตาการประชุมของ 2 ธนาคารกลางรายใหญ่ของเอเชีย โดยธนาคารกลางออสเตรเลียจะประชุมนโยบายการ
- ตลาดการเงินยังคงจับตาสถานการณ์ในตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิด หลังจากกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมนประกาศว่าจะทำการตอบ