นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้า เปิดตลาดที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทระหว่างวันยังเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า ในกรอบ 36.08-36.19 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งหลักๆ มาจากปัจจัยที่ตลาดยัง ย่อยข่าว GDP ไตรมาส 4/66 และทั้งปี 66 ของไทย ที่ออกมาต่ำกว่าคาดไปค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ ตลาดยังมองว่ามีแรงกดดันมากขึ้น จากรัฐบาลส่งไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้พิจารณาปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงการขอให้จัดประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นัดพิเศษ ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการประชุมรอบ ปกติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 10 เม.ย.67
"เชื่อว่า กนง.จะยังคงจุดยืน โดยไม่มีการจัดประชุมนัดพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องดอกเบี้ย" นักบริหารเงิน ระบุ
สำหรับคืนนี้ ไม่มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ เนื่องจากสหรัฐฯ วันนี้ทั้งตลาดเงิน ตลาดหุ้น และตลาดสินค้า โภคภัณฑ์ ปิดทำการเนื่องในวันประธานาธิบดี
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.95 - 36.25 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.29 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 150.25 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0794 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,381.07 จุด ลดลง 6.26 จุด (-0.45%) มูลค่าซื้อขาย 40,457.10 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 92.96 ล้านบาท
- รัฐบาลเคาะแล้ว งบกว่าร้อยล้านบาท จัดใหญ่ "Maha Songkran World Water Festival เย็นทั่วหล้ามหา
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศ
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผย ข้อมูลล่าสุด นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ตั้งแต่ต้นปี - 18 ก.
- กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เตรียมอนุญาตให้บริษัทธุรกิจเงินร่วมลงทุน และกองทุนเพื่อการลง
- ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนก.พ. โดยระบุว่า กรรมการส่วนหนึ่งของ
- ซิตี้ (Citi) คาดการณ์ว่า ราคาทองคำอาจทะยานขึ้นสู่ระดับ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ และราคาน้ำมันมีสิทธิ์พุ่งขึ้นสู่
ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ภายในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า หากเกิดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจากทั้งหมด 3 ปัจจัยที่เป็นไปได้ คือ
ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ซื้อทองคำเพิ่ม หรือเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อพุ่ง (Stagflation) หรือเกิดภาวะเศรษฐกิจ
โลกถดถอยรุนแรง