ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2567 โดยยังคงคาดว่าอัตราการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปีนี้จะอยู่ที่ 2.8-3.3% เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย โดยการส่งออกยังฟื้นตัวได้ ช้า การท่องเที่ยวยังไม่กลับเข้าสู่ระดับเดิม และกำลังซื้อภายในประเทศถูกกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน และคาดอัตราเงินเฟ้อทั้งปี จะอยู่ ที่ 0.7-1.2%
ทั้งนี้ แม้ภาคการส่งออกจะมีแนวโน้มกลับมาขยายตัว แต่คาดว่าทั้งปีมูลค่าการส่งออกจะเติบโตในระดับต่ำที่ 2-3% อีกทั้ง ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศยังมีสูง ขณะที่อุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออก มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวได้ แต่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิดถึง 50% เนื่องจากชาวจีนหันไปท่อง เที่ยวภายในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ ปัญหาหนี้สินและกำลังซื้อภายในประเทศที่มีแนวโน้มอ่อนแอ จะเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคภาคครัว เรือนต่อไป
"ยอดส่งออกต้องให้ได้เกินเดือนละ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้นอกจากต้องการให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็น 24-35 ล้านคนแล้ว เรายังต้องการเพิ่มยอดค่าใช้จ่ายจากคนละ 3-4 หมื่นบาท เป็น 4-5 หมื่นบาท รวมทั้งกระตุ้นให้คนไทยท่อง เที่ยวในประเทศมากขึ้นด้วย" นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธาน กกร. กล่าว
ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 จากปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ปรับ เร็วขึ้น เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ต้นไตรมาส 2 ซึ่งเป็นตัวช่วยประคองเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง และหนุนการลงทุนทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชนในระยะข้างหน้า
สำหรับมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาลที่กำลังจะสิ้นสุดลงนั้น ยังต้องการให้ขยายเวลาออกไปอีกสักระยะ เนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจยังมีความเปราะบาง แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะมีแนวทางบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างไร ต้องดำเนินมาตรการให้เกิดสมดุล
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2567 ของ กกร.
%YoY ปี 66 (ณ ธ.ค.66)* ปี 67 (ณ ก.พ.67) ปี 67 (ณ มี.ค.67) GDP 1.9% 2.8-3.3% 2.8-3.3% ส่งออก -1.7% 2.0-3.0% 2.0-3.0% เงินเฟ้อ 1.2% 0.7-1.2% 0.7-1.2% หมายเหตุ: * ข้อมูลจริง นอกจากนี้ กกร.มีข้อเสนอแนะต่อการจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... ที่ ครม. ได้มีมติรับ หลักการไปแล้ว เพื่อให้กลไกการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศมีความยั่งยืน และครอบคลุมปัญหาในทุกมิติทั้งจากปัญหา PM2.5 การเผาในที่ โล่ง มลพิษจากภาคขนส่ง และมลพิษข้ามแดน ดังนี้ 1. เสนอให้มีผู้แทนภาคเอกชนจำนวน 4 ท่านเท่ากับภาคประชาชนเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการขับเคลื่อน 3 คณะ ภายใต้ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการนโยบายอากาศสะอาด 2) คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศ สะอาด 3) คณะกรรมการอากาศสะอาดจังหวัด เพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน 2. บูรณาการการกำกับดูแล ด้านมาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด ดัชนีคุณภาพอากาศ และมาตรฐานการควบคุมต่างๆ เพื่อลด ความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน 3. ทบทวนการวางหลักประกันความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในการขออนุญาตประกอบกิจการ โดยควรนำเอาระบบการซื้อ ประกันภัยมาใช้ทดแทนในกรณีที่เกิดความเสียหาย รวมทั้งปรับบทลงโทษผู้กระทำความผิดให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม 4. ทบทวนการปรับปรุงเงื่อนไขและข้อจำกัดการใช้เงินกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถนำงบประมาณมาใช้ในการแก้ไข ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการกำหนดมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 5. ศึกษาความเหมาะสมและรายละเอียดในร่าง พ.ร.บ. โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมทั้งเสนอให้ภาครัฐต้องเข้มงวดเรื่องการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของผักและผลไม้ที่นำเข้ามาจำหน่ายภายใน ประเทศไทย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากในเดือนม.ค.มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 8.45% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 13,275.20 ล้านบาท ส่วนผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมานั้น นายเกรียงไกร กล่าวว่า ในส่วนของการค้าไม่ได้รับผลกระทบมาก นักเนื่องจากใช้สกุลเงินท้องถิ่น ส่วนกรณีนักศึกษาเมียนมาต้องการเข้ามาหาสถานที่เรียนนั้นน่าจะเป็นโอกาสที่จะเปิดรับบุคลากรระดับ ปัญญาชนเข้ามาช่วยทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน