นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 มี.ค.2567 มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้า จริงประจำรอบเดือน ก.ย.- ธ.ค. 2566 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2567 พร้อมให้ สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นใน 3 กรณี ผ่าน ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 8-22 มีนาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
- กรณีที่ 1 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างทั้งหมดในงวดเดียว) แบ่งเป็น ค่าเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.
- กรณีที่ 2 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 4 งวด) แบ่งเป็นค่าเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค. - ส.
- กรณีที่ 3 (ตรึงค่าเอฟทีเท่ากับงวดปัจจุบันตามที่ กฟผ. เสนอ หรือจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างประมาณ 7 งวด) แบ่งเป็นค่า
ทั้ง 3 กรณีดังกล่าวข้างต้น ยังไม่รวมเงินภาระคงค้างค่าก๊าซที่เกิดจากนโยบายที่ให้รัฐวิสาหกิจที่นำเข้าก๊าซเรียกเก็บราคาค่า ก๊าซเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 คงที่ตามมติ กพช. จึงมีส่วนต่างราคาก๊าซที่เกิดขึ้นจริงและราคาก๊าซที่เรียกเก็บ (AF Gas) โดยภาระดัง กล่าวยังคงค้างที่ ปตท. (เฉพาะในส่วนของการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายเข้าระบบ) เป็นจำนวนเงิน 12,076 ล้านบาท และยังคงค้างที่ กฟผ. เป็นจำนวนเงิน 3,800 ล้านบาท ผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ทั้ง 3 กรณีที่กล่าวข้างต้นนั้น เป็นไปตาม การประมาณการต้นทุนเชื้อเพลิงโดย ปตท. และ กฟผ. นำค่าประมาณการดังกล่าวมาคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้า ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้จัดทำ สรุปสมมุติฐานที่ใช้ในการประมาณการค่าเอฟทีรอบคำนวณเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 เทียบกับการคำนวณในปีฐาน พ.ค.-ส.ค. 2558 และรอบประมาณการค่าเอฟทีเดือน พ.ค.- ส.ค. 2567
สมมุติฐาน หน่วย พ.ค.-ส.ค.58 ม.ค.-เม.ย.67 พ.ค.-ส.ค..67 เปลี่ยนแปลง (ค่าไฟฟ้าฐาน) (ประมาณการ*) (ประมาณการ) มติกกพ./มติ ครม. 29 พ.ย.66/19 ธ.ค.66 - ราคา Pool Gas บาท/ล้านบีทียู 264 387/333* 300 -87/-33 อ้างอิงน้ำมันดิบดูไบ USD/บาร์เรล 93.3 USD/บาร์เรล 78.9 USD/บาร์เรล -14.4 USD/บาร์เรล - ราคาน้ำมันเตา บาท/ลิตร 15.20 23.09 23.26 +0.17 (+1%) - ราคาน้ำมันดีเซล บาท/ลิตร 25.86 26.65 30.43 +3.78 (+14%) - ราคาลิกไนต์ (กฟผ.) บาท/ตัน 569.70 820.00 820.00 0 (0%) - ราคาถ่านหินนำเข้า บาท/ตัน 2,825.70 4,826.56* 3,705.12 -1,121.44 เฉลี่ย (IPPs) (-23%) สัดส่วนก๊าซธรรมชาติใน Pool Gas 3,682** 3,634 3,749 115(+3%) - อ่าวไทย พันล้านบีทียู/วัน 2,514** 1,510 1,484 -26(-2%) - เมียนมา 854** 511 483 -28(-5%) - LNG 314** 1,613 1,782 169(+10%) วิธีการคิด Pool Gas ผลิตไฟฟ้า Gulf/Pool gas Two Pools Single Pool Single Pool - การใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้า ล้านลิตร/เดือน ไม่อยู่ในแผน ตามความจำเป็น ตามความจำเป็น - ราคา Spot LNG USD/ล้านบีทียู - 14.32 10.38 -3.94(-28%) อัตราแลกเปลี่ยน บาท/USD 33.05 34.83 35.34 -0.49(-1%) หมายเหตุ: * ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ก๊าซฯ) และปรับตามปริมารการผลิตและนำเข้าก๊าซธรรมชาติของประเทศจริง เพื่อใช้เปรียบเทียบเบื้องต้นเท่านั้น นายคมกฤช กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ารอบ พ.ค - ส.ค. 2567 ลดลงมีสาเหตุหลักมาจากต้นทุนราคา LNG ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและส่งผลทำให้ราคาประมาณการ Pool Gas ลดลงจาก 333 ล้านบาทต่อล้านบีทียู เป็น 300 ล้านบาทต่อล้านบี ทียู อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแหล่งเอราวัณจะมีแผนทยอยปรับเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติจาก 400 เป็น 800 ล้านลูกบากฟุตต่อวันใน เดือน เม.ย. 2567 แต่ประมาณการปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้ายังคงอยู่ในระดับเดิมหรือลดลงเล็กน้อย อีกทั้งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเมียนมาร์ยังมีแนวโน้มที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องนำเข้า LNG เพื่อเสริมปริมาณก๊าซ ธรรมชาติที่ขาดหายและเสริมความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในปัจจุบันและในช่วงฤดู ร้อนที่กำลังจะมาถึง