นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.37 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวันศุกร์นี้ที่ระดับ 35.42 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก หลังตลาดเพิ่มคาดการณ์ ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมา
ส่วนปัจจัยในประเทศต้องจับตาดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) จากผู้ค้าทอง เนื่องจากราคาทองในตลาดโลกปรับ ขึ้นอีก 20 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้บาทแข็งค่า
"บาทปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่องตามทิศทางตลาดโลก วันนี้ตลาดน่าจะย่อยข่าวตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมา และ มีแรงหนุนให้แข็งค่าจากผู้ค้าทองหลังราคาในตลาดโลกปรับขึ้น" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.25 - 35.50 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.76 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 147.05 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0942 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0929 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.497 บาท/ดอลลาร์
- โฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า แม้ระดับหนี้สาธารณะของไทยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้น หลังรัฐบาลได้
- กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เด้งรับนโยบายนายกฯ "เศรษฐา" ปั้นเป้ารายได้ปี 67 แตะ 3.5 ล้านล้านบาท เดินหน้าดัน
- กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานเมื่อวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเพิ่มขึ้น 275,000 ตำแหน่งในเดือน
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐ ได้ลงนามในร่างกฎหมายงบประมาณวงเงิน 4.60 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อบังคับใช้
- นักวิเคราะห์คาดว่า ราคาทองมีเป้าหมายต่อไปที่จะปิดตลาดเหนือแนวต้านแข็งแกร่งที่ระดับ 2,250.00 ดอลลาร์ โดยได้
- ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญประจำเดือนก.พ.ของสหรัฐ อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภค
- จีนรายงานเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้น 0.7% ในเดือนก.พ.
- รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มประมาณการตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 4/2566 โดยระบุว่า GDP ขยาย