ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.99 อ่อนค่าสอดคล้องภูมิภาค ตลาดรอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 18, 2024 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.99 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.91 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.89-36.00 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าสอดคล้องกับทิศทางสกุลเงินอื่นใน ภูมิภาค ประกอบกับต่างชาติขายพันธบัตรไทย 6,000 ล้านบาท โดยวันนี้ยังไม่มีปัจจัยเด่นๆ ที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมาก นัก

ขณะที่ ตลาดรอดูผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันพรุ่งนี้ (19 มี.ค.) อีกทั้งช่วงกลางสัปดาห์ จะมีการประชุมคณะ กรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) และการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)

"บาทแกว่งข้าง รอดูผลประชุม BOJ พรุ่งนี้ ช่วงนี้เงินเยนค่อนข้างจะผันผวน ต้องระมัดระวัง...สัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่ตลาดจะ จับตาการประชุมธนาคารกลางของหลายประเทศสำคัญ" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.85 - 36.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 149.21 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 149.11 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0899 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0888 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,385.94 จุด ลดลง 0.10 จุด (-0.01%) มูลค่าการซื้อขาย 37,382.75 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 330.24 ล้านบาท
  • นักลงทุนจะให้ความสนใจความคืบหน้า และแนวทางของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังครบ 30
วัน หลังจากตั้งคณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้างและศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุ ในปี 2566 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย (ตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ) จำนวน 583 บริษัท มีการจ่ายเงินปันผลรวม 842 ครั้ง เป็นการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือ
หุ้นรวมกว่า 593,098 ล้านบาท ลดลงจาก 610,760 ล้านบาทในปี 2565 แต่หากพิจารณาการจ่ายเงินปันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า
มูลค่าการจ่ายเงินปันผลให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เติบโตเฉลี่ยปีละ 4.49%
  • ตลาดจะติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) วันที่ 19-20 มี.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-
5.50% ขณะที่จุดสนใจหลักจะอยู่ที่ Dot Plot หรือประมาณการดอกเบี้ยที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่เฟด กรณี Dot Plot บ่งชี้ว่าเฟดมีแนวโน้ม
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไม่ถึง 3 ครั้งในปีนี้ จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์ได้แรงหนุนขึ้นต่อ
  • โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ และประกาศขึ้น
ดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 ในการประชุมวันพรุ่งนี้ (19 มี.ค.) หลังแนวโน้มการปรับขึ้นค่าจ้างแข็งแกร่ง ขณะที่รายงานข่าวใน
ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาบ่งชี้ไปในทิศทางดังกล่าว
  • "เงินริงกิต" เป็นหนึ่งในสกุลเงินที่ทำผลงานดีที่สุด ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ของเอเชียในเดือนนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้นักลง
ทุนเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลมาเลเซียอย่างคึกคัก ข้อมูลจากธนาคารกลางมาเลเซีย บ่งชี้ว่า นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล
มาเลเซีย คิดเป็นมูลค่าสุทธิ 119 ล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ. และมีแนวโน้มที่จะเข้าซื้ออย่างต่อเนื่องในเดือนมี.ค.
  • นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ระดับ 4.35%
ในการประชุมวันพรุ่งนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี และจะเป็นการคงดอกเบี้ยในการประชุม 3 ครั้งติดต่อกัน เนื่องจาก
เศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัว และอัตราว่างงานมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
  • ยอดปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวนของธนาคารจีนในเดือนก.พ. ลดลงมากกว่าที่คาด หลังแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือน
ม.ค. แม้ว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) จะพยายามกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจที่กำลังซบเซา และต่อสู้กับแรงกดดันเงินฝืด
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับ

สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 4/2566, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการขั้นต้น เดือน

มี.ค., ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ., ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนก.พ. เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ