ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.05 ระหว่างวันผันผวน ก่อนกลับมาอ่อนค่า ตลาดจับตาผลประชุม BoE คืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 21, 2024 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.05 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 35.94 บาท/ดอลลาร์

โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.88 - 36.07 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้เงินบาทเข็งค่าในช่วงเช้า หลังจาก ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปีนี้ แต่พอช่วงบ่าย เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลง หลังจากธนาคารกลาง สวิตเซอร์แลนด์ ปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งผิดไปจากที่ตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ย จึงทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

"วันนี้ ค่าเงินในภูมิภาคเป็นแบบผสม มีทั้งอ่อนค่าและแข็งค่า ส่วนเงินบาท หลังจากที่ช่วงเช้าแข็งค่า แต่พอช่วงบ่าย ก็ปรับตัว อ่อนค่า หลังจากที่ธนาคารกลางสวิตฯ ไม่ได้คงดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด แต่ลดดอกเบี้ย จึงทำดอลลาร์แข็งค่าขึ้น" นักบริหารเงิน ระบุ

สำหรับคืนนี้ ตลาดรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) โดยจับตาว่าจะส่งสัญญาณอย่างไรต่อการลดดอกเบี้ย และการรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.90 - 36.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 151.07 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 150.33 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0612 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0934 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,387.62 จุด เพิ่มขึ้น 14.44 จุด (+1.05%) มูลค่าซื้อขาย 43,596.00 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,013.61 ล้านบาท
  • นักวิเคราะห์ระบุว่า ราคาทองคำยังคงมีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีก เนื่องจากธนาคารกลางหลายแห่ง เดินหน้าซื้อทองคำ
ในปริมาณมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งการเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลางหลายแห่งนี้ ได้หนุนให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ย
อยู่ในระดับสูง และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าก็ตาม
  • ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 1.50% ซึ่งเป็นการดำเนิน
การที่สวนทางการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ และทำให้กลายเป็นธนาคารกลางรายใหญ่แห่งแรก ที่เริ่มยุติการใช้นโยบายการเงิน
เชิงคุมเข้มที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แนะธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซน ต้องปรับเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการความเสี่ยง ในขณะที่เผชิญกับ
ความท้าทายต่าง ๆ ตั้งแต่การสิ้นสุดลงของอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำพิเศษ ไปจนถึงคู่แข่งหน้าใหม่ที่ไม่ใช่ธนาคารแบบดั้งเดิม ซึ่งสามารถแย่ง
ชิงส่วนแบ่งตลาดไปได้อย่างรวดเร็ว
  • รองผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) ระบุว่า จีนยังมีเครื่องมือเหลืออยู่เพียงพอสำหรับการทำนโยบายการเงิน
(monetary policy space) และมีทางเลือกมากมาย รวมทั้งยังมีโอกาสที่จะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์
(Reserve Requirement Ratio - RRR) ลงได้อีก
  • ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.75% โดยเคลื่อนไหวตามธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) ที่มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเมื่อวาน
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แถลงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นว่า BOJ จะยังสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้วยการรักษาจุดยืนด้าน
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกระยะหนึ่ง พร้อมคาดการณ์ถึงอัตราเงินเฟ้อทั้งในระยะกลาง และระยะยาว ว่ายังคงบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อ
มีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นแตะระดับ 2%
  • รมว.คลังญี่ปุ่น เผยว่า ญี่ปุ่นกำลังจับตาความเคลื่อนไหวในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และจะดำเนิน

การอย่างเร่งด่วนหากจำเป็น หลังจากเงินเยนดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยอยู่ที่ระดับ 151.82 เยน/

ดอลลาร์ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ