ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.61 ระหว่างวันผันผวน จากตลาดคาดเฟดยังไม่ลดดอกเบี้ยหลังเงินเฟ้อสูงกว่าคาด

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 11, 2024 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.61 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.66 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลกจากปัจจัยเรื่องอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดย ตลาดปรับคาดการณ์ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนั้นมีโอกาสน้อยลง โดยอาจขยายออกไปเป็นช่วงไตร มาสที่ 3/67 ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.57-36.79 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรราว 7 พันล้าน บาท

"บาทปิดตลาดแข็งค่าจากช่วงเช้า ปัจจัยสำคัญวันนี้มาจากเงินเฟ้อสหรัฐที่ออกมาสูงกว่าคาดการณ์ทำให้ตลาดปั่นป่วนไปหมด ตลาดมองว่าโอกาสที่เฟดจะลดดอกเบี้ยช่วงกลางปีนี้มีน้อยลง อาจเลื่อนไปไตรมาส 3" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์หน้าไว้ที่ 36.50 - 36.80 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงวัน หยุดยาวจะมีการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 153.19 เยน/ดอลลาร์ นิวไฮในรอบ 34 ปี จากช่วงเช้าที่ระดับ 152.85 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0730 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0744 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,396.38 จุด ลดลง 11.79 จุด, -0.84% มูลค่าซื้อขาย 42,952.35 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,860.55 ล้านบาท
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ยังคาดว่า กนง. จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แม้รอบการ
ประชุมนี้ กนง. จะยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% แต่การมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ติดต่อกันอีกครั้งหนึ่งยังเป็นการส่งสัญญาณการเปลี่ยนทิศ
ทางอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า
  • Krungthai COMPASS คาดว่า กนง. จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจำนวน 2 ครั้งในปีนี้ (ครั้งละ 25bps) สู่
ระดับ 2.0% ต่อปี โดยประเมินว่า เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต จะเป็นปัจจัยกดดันให้ กนง. ปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้สู่ระดับ 2.0% ต่อปี
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมี.ค. 67
อยู่ที่ระดับ 92.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 90 ในเดือนก.พ. 67 มีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่ทยอยฟื้นตัว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว
ขยายตัวต่อเนื่อง และได้รับอานิสงส์จากมาตรการวีซ่าฟรีในช่วงที่ผ่านมา ด้านการส่งออกขยายตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ
เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ
  • สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ไตรมาส
1/67 อยู่ที่ระดับ 81 เพิ่มขึ้นจากระดับ 77 ในไตรมาส 4/66 สูงสุดในรอบ 4 ปี แม้ยังอยู่ต่ำกว่าระดับปกติที่ระดับ 100 โดยไตรมาส
1/67 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9.37 ล้านคน เพิ่มขึ้น 44% จากปีก่อน ส่วนทั้งปีคาดจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 34-36 ล้านคน
สร้างรายได้ 2.5 ล้านล้านบาท และมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นเป็น 3-3.5 ล้านล้านบาทได้ ขณะที่ไทยเที่ยวไทย คาดว่าจะมีมากกว่า 50 ล้าน
คน สร้างรายได้รวมประมาณ 6.5 แสนล้านบาท
  • นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนอาจจะขยายตัว 4.6% ในไตรมาส 1/2567
เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวช้าที่สุดในรอบ 1 ปี และต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ที่ประมาณ 5.0% โดยข้อมูลดังกล่าว
อาจเป็นแรงผลักดันให้ทางการจีนเร่งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
  • ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของจีนลงสู่ "เชิงลบ" จาก "มีเสถียรภาพ" โดยระบุถึงความเป็นไปได้
ที่รัฐบาลจีนอาจจะเผชิญปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง
  • ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจล่าสุดในวันนี้ (11 เม.ย.) โดยระบุว่า
เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกยังคงแข็งแกร่ง โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะขยายตัว 4.9%
ทั้งในปี 2567 และ 2568 ขณะคาดเศรษฐกิจไทยโต 2.6%
  • อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐกล่าวว่า การที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐพุ่งขึ้นสูงกว่าคาดในเดือนมี.ค.
นั้น บ่งชี้ว่าการดำเนินการครั้งต่อไปของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งตลาดต้องจับตาเรื่องนี้อย่าง
ระมัดระวัง
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 19-20 มี.ค. โดยระบุว่า กรรม
การเฟดมีความกังวลว่า เงินเฟ้ออาจจะไม่ชะลอตัวลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% ในระยะเวลาอันใกล้ และแสดงความเห็นว่า เฟด
อาจจำเป็นต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • องค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่า ปริมาณการค้าโลกจะขยายตัว 2.6% ในปี 2567 และเพิ่มขึ้นอีก 3.3% ในปี

2568 หลังจากลดลงมากกว่าคาด 1.2% ในปี 2566 เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการค้า

ระหว่างประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ