นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.98 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.90 บาท/ดอลลาร์
โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.92-37.03 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าสอดคล้องทิศทางสกุลเงินภูมิภาค เนื่อง จากตลาดมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับช่วงนี้ เป็นการรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/67 ซึ่งทำให้มี flow จ่ายเงินปันผลกลับไปยังบริษัทแม่ในต่างประเทศ มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่า
"บาทอ่อนค่าตามภูมิภาค ระหว่างวันอ่อนค่าไปแตะ 37.03 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบ 6 เดือนครึ่ง นับตั้งแต่ 10 ต. ค.66 ซึ่งตลาดมองว่าเฟดยังไม่เร่งลดดอกเบี้ย และอีกส่วนจาก flow ไหลออก หลังรายงานผลประกอบการไตรมาส 2" นักบริหารเงิน ระบุ
ส่วนปัจจัยความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-อิหร่าน ช่วงนี้ยังไม่มีข่าวใหม่ๆ ซึ่งยังต้องติดตามสถานการณ์ไปก่อน
อย่างไรก็ดี ตลาดรอดูรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมี.ค. หรือเงินเฟ้อของสหรัฐ และทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.80 - 37.10 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 154.75 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 154.60 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0650 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0667 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,349.52 จุด เพิ่มขึ้น 17.44 จุด (+1.31%) มูลค่าการซื้อขาย 43,139.29 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 422.07 ล้านบาท
- BOI ดึง Chery บริษัทรถยนต์ชั้นนำระดับโลกจากประเทศจีน เข้ามาลงทุนในไทยเป็นรายล่าสุด หลังจากหารือกัน
- ซิตี้แบงก์ คาด กนง.จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 12 มิ.ย.67 และลดอัตราดอกเบี้ย
- ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ได้ปรับเพิ่มการดำรงเงินฝากขั้นต่ำ (minimum reserve requirement)
- ค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดที่เคยทำไว้ในช่วงที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาด ซึ่งอาจกดดันให้
- กูรูการเงิน ระบุ มีความเป็นไปได้ที่ทางการญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะร่วมมือกันในการแทรกแซงตลาดปริวรรเงินตรา เพื่อ
สกัดการอ่อนค่าของสกุลเงินในประเทศ ทั้งเงินเยน และเงินวอน โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ