นายธนวัตน์ รื่นบันเทิง เศรษฐกรส่วนวิเคราะห์เศรษฐกิจด้านอุปทาน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เสนอแนะให้รัฐบาลออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ยังมีความเปราะบาง และยังอ่อนไหวต่อการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน เนื่องจากมาตรการที่รัฐบาลได้ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ทำได้แค่พยุงการอุปโภคบริโภคให้เติบโตขึ้นได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
นอกจากนั้น ขณะนี้ยังมีความเสี่ยงในระยะไป โดยเฉพาะปัญหาการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ
“มาตรการรัฐมีผลทางตรงไม่มากนัก แต่จะช่วยผลทางจิตวิทยาเท่านั้น แต่ประเด็น ที่น่าเป็นห่วงคือการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาน้ำมัน ซึ่งหากดอลลาร์สหรัฐอ่อนล่าลง 1% ราคาจะน้ำมันจะเร่งขึ้น0.97% ซึ่งมีผลต่อการเร่งตัวเงินเฟ้อหลักอยู่ที่การเร่งตัวเงินเฟ้อ ขณะที่การเมืองก็ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงอยู่" นายธนวัตน์กล่าว
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาธปท.พบว่า เมื่อราคาอาหารและพลังงานเร่งตัวขึ้นมีผลให้ค่าครองชีพครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยครัวเรือนที่จนที่สุดในประเทศในสัดส่วน 20% ของประชากรทั้งหมดจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 226 บาทต่อเดือน แยกเป็นรายจ่ายด้านอาหาร 143 บาทและด้านพลังงาน 83 บาท
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาสินค้าเกษตรที่เร่งตัวขึ้นมีผลต่อรายได้เกษตรกรสูงขึ้นซึ่งสามารถชดเชยผลกระทบจากค่าครองชีพที่แพงได้ระดับหนึ่ง
--อินโฟเควสท์ โดย ธปฦ/ศศิธร/รัชดา โทร.0-2253-5050 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--