ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.59 แข็งค่ารับดอลลาร์อ่อน หลังปธ.เฟดย้ำจุดยืนไม่รีบลดดบ. ลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 15, 2024 09:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.59 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจากปิดวันที่ระดับ 36.66 บาท/ดอลลาร์

ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น และผันผวนพอสมควรในช่วงสั้น หลังตลาดรับรู้รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต ในส่วน Core PPI สหรัฐฯ ที่โมเมนตัมรายเดือน (%m/m) ออกมาสูงกว่าคาด

ส่วนเงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังตลาดคลายกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด และคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ จากรายงานดัชนี PPI ที่ออกมาผสมผสาน และถ้อยแถลงของ ประธานเฟด ที่ย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ยตามเดิม จนกว่าจะมั่นใจในแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ

นอกจากนี้ บรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ก็ลดความน่าสนใจในการถือครองเงินดอลลาร์เพิ่มเติม

"แนวโน้มของค่าเงินบาท อาจยัง sideways ในช่วงก่อนตลาดทยอยรับรู้ CPI (เงินเฟ้อ) สหรัฐคืนนี้ เนื่องจากเป็นข้อมูล สำคัญที่ตลาดต่างรอลุ้น ทำให้ขณะนี้ตลาดอาจยังอยู่ในโหมด wait and see" นายพูน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 36.40-36.75 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.5500 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 156.34 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 156.30 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0818 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.771 บาท/ดอลลาร์
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับระดับปิดสิ้นปี 66 เงินบาทอ่อนค่าลง 7.2% อ่อนค่าลงมากที่สุด
เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากเงินเยนที่อ่อนค่าลง 9.5% มาจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ฯ จากการปรับการคาดการณ์ของตลาด
ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่เกิดขึ้นได้เร็ว ซึ่งส่งผลตามมาให้มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้น
และพันธบัตรไทย 1.3 แสนล้านบาท
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดรายงาน "สินเชื่อ ภาคอสังหาฯ" พบไตรมาสแรกสินเชื่อบ้านระบบ ธนาคารไทย
วูบ ทั้ง "ยอดปล่อยกู้ใหม่" และ "บ้านมือสอง" ผลสำรวจสินเชื่อแบงก์เข้มปล่อยกู้ กังวลหนี้ คุณภาพลูกหนี้ เศรษฐกิจชะลอตัว-ดอกเบี้ย
สูง "เคเคพี" เผยแข่งขันด้านดอกเบี้ยปล่อยกู้กลุ่มตลาดบน "ดุเดือด" เน้นคุมปล่อยกู้ แบบคุณภาพไม่เน้นปริมาณ "ซีไอเอ็มบีไทย" เผย
แบงก์ปฏิเสธสินเชื่อบ้านต่ำ 3 ล้าน พุ่ง 70%
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.2% ใน
เดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 1.8% ในเดือนมี.ค.
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมประจำปี ของสมาคมธนาคารต่างชาติ ที่กรุง
อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า คาดว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก แม้ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าคาดก็ตาม พร้อม
ระบุว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลงล่าช้ากว่าที่คาด ซึ่งจะทำให้เฟดต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกระยะหนึ่ง

พร้อมคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐปีนี้ มีแนวโน้มขยายตัว 2% หรือมากกว่า ขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน ขณะที่ภาคครัวเรือนมีสถานะทางการเงินที่มั่นคง การใช้จ่ายของผู้บริโภค และการลงทุนในภาคธุรกิจ ยังคงรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้

  • รมว.คลังสหรัฐเปิดเผยว่า การเก็บภาษีนำเข้าครั้งใหม่กับสินค้าของจีนจะช่วยปกป้องธุรกิจและแรงงานของสหรัฐโดยไม่ทำ
ให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นสำหรับผู้บริโภคชาวอเมริกัน
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (14 พ.
ค.) หลังจากประธานเฟด ส่งสัญญาณว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (14 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจาก
นี้ ราคาทองคำยังดีดตัวขึ้นหลังจากประธานเฟด ส่งสัญญาณว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐในวันนี้ รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น
ๆ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนเม.ย.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB), ยอดค้าปลีกเดือน
เม.ย., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลข
การเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.จาก
Conference Board

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ