ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.52 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค จับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 15, 2024 17:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.52 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 36.59 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.49-36.58 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางสอดคล้องกับสกุล เงินในภูมิภาคที่แข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบดอลลาร์ เนื่องจากบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ย่อตัวลง

สำหรับคืนนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่ตลาดรอติดตาม คือ การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) และยอดค้าปลีก เดือนเม.ย.

"หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าตลาดคาด ก็จะทำให้ดอลลาร์อ่อนค่า และมีโอกาสมากขึ้นที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในปีนี้ แต่ถ้า เงินเฟ้อ ออกมาสูงกว่าคาด ก็มีโอกาสที่เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย และยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่าพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.45 - 36.65 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 155.80 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 156.34 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0826 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0818 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,370.44 จุด ลดลง 6.13 จุด (-0.45%) มูลค่าซื้อขาย 49,685.70 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,673.47 ล้านบาท
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนเม.ย.67 อยู่ที่ระดับ 62.1 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่า
เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพสูง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.50% การส่ง
ออกไทยเดือนมี.ค.67 กลับมาติดลบอีกครั้งในรอบ 8 เดือน รวมทั้งผู้บริโภคยังกังวลต่อปัจจัยเสถียรภาพทางการเมือง ภายหลังมีรัฐมนตรี
ยื่นลาออกหลังการปรับ ครม.
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ พบว่ายังมีความ
กังวลต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ เนื่องจากมองว่าการปรับขึ้นค่าแรงควรขึ้นตามศักยภาพของ
แต่ละจังหวัด และแต่ละธุรกิจมากกว่า พร้อมกันนี้ต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเยียวยาผู้ประกอบการ เพราะการปรับขึ้นค่าแรง เป็น
ภาระต้นทุนโดยตรงที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 67 อยู่ที่ระดับ 90.3 ปรับตัวลดลงจาก 92.4 ในเดือนมี.ค. 67 เป็น
ผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วนผู้
ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs มีความกังวลต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก โดยดำเนินการใน
ลักษณะค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ BOJ ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีในการประชุมเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่าน
มา
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ของจีนไว้ที่ระดับ 2.50% ในวันนี้ เป็นการสัญญาณว่า ธนาคารกลางจีนมีความตั้งใจจะพยุงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อสกุล
เงินหยวน
  • กระทรวงพาณิชย์จีน ออกแถลงการณ์โจมตีรัฐบาลสหรัฐ ที่ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นวงกว้าง และประกาศว่า

จะใช้มาตรการตอบโต้การกระทำดังกล่าว ขณะที่ รมว.คลัง ระบุว่า การที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ารอบใหม่จากจีนนั้น

จะช่วยปกป้องธุรกิจและแรงงานของสหรัฐ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าในสหรัฐ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ