สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุว่าผ่านมา 4 เดือนแรกของปีนี้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เฉลี่ยหดตัว 2.06% จากหลายปัจจัยรุมเร้า ได้แก่ เศรษฐกิจคู่ค้าหลักบางประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด, ปัญหาสินค้านำเข้าล้นตลาด, การเลือกตั้งผู้นำในหลายประเทศ, สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน, ปัญหาหนี้สินครัวเรือนในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยมีระดับสูง, ต้นทุนพลังงานและค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศแปรปรวน
ดังนั้น สศอ.จึงปรับเปลี่ยนคาดการณ์ดัชนีฯ MPI ในปีนี้ว่าจะขยายตัวได้ 0-1% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2-3% ส่วน GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัว 0.5-1.5% สำหรับแนวโน้มดัชนีฯ เดือน พ.ค.ส่งสัญญาณฟื้นตัวในระยะสั้น
"หลังจากประเมินแล้วมีหลายปัจจัยรุมเร้า จึงได้รับประมาณการดัชนีฯ ในปีนี้อยู่ที่ 0-1% ถึงแม้จะขยายตัวเพียงเล็กน้อยก็ยังดี ซึ่งเป็นไปตามทิศทางการเมินของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจอื่นๆ" นางศิริเพ็ญ กล่าว
*MPI เม.ย.พลิกบวกจากฐานปีก่อนต่ำ
ขณะที่ MPI เดือนเม.ย.67 อยู่ที่ระดับ 90.34 พลิกกลับมาขยายตัวได้ 3.43% (YOY) โดยปัจจัยสำคัญที่ดัชนี MPI กลับมาขยายตัวได้ เป็นผลจากฐานที่ต่ำในเดือนเม.ย.66, การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 14% นอกจากนี้ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ เช่น อาหาร-เครื่องดื่ม และการกลั่นน้ำมัน เป็นต้น ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น
ส่งผลให้ดัชนี MPI ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.67) เฉลี่ยหดตัว 2.06%
ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต (CapU) เดือน เม.ย.67 อยู่ที่ 55.26% และช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 59.13%
"ดัชนีฯ ในเดือน พ.ค.น่าจะมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง หลังจากเดือน เม.ย.กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 18 เดือน" นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการ สศอ. กล่าว
*ปัจจัยบวก
- ฐานต่ำในปีก่อน โดยเดือน เม.ย.66 ค่าดัชนีฯ อยู่ที่ 87.35 และ MPI เฉลี่ยทั้งปี 2566 อยู่ที่ 97.50
- การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว โดยในส่วนของมูลค่าการส่งออกขยายตัว 9.2% และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองค่า อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัว 14.0%
- การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 30-33 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศ 3 ล้านล้านบาทเท่ากับกเมื่อปี 2562 ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม และการกลั่นน่ามัน เป็นต้น
- เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากการปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2567 ของ IMF จาก 3.1% เพิ่มเป็น 3.2%
*ปัจจัยลบ
- การผลิตยานยนต์ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 โดยหดตัวจากทั้งภายในประเทศ และการส่งออก
- หนี้ภาคครัวเรือน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง ท่าให้ต้นทุนทางการเงิน และภาระหนี้ของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น
- ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขนส่ง
*อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวกต่อดัชนีฯ
- เครื่องปรับอากาศขยายตัว 24.19% ตามความต้องการบริโภคมากกว่าปกติจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อาทิ กรอง PM 2.5 โดยขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ (+18.64%) และตลาดส่งออก (+15.54%) ไปสหรัฐฯ ยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง
- การกลั่นปิโตรเลียมขยายตัว 4.78% จากน้ำมันเครื่องบิน ก๊าซหุงต้ม และแก๊สโซฮอล์ 91 เป็นหลัก โดยน้ำมันเครื่องบินและแก๊สโซฮอล์91 ขยายตัวตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ปีนี้คึกคักกว่าปีก่อน ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาเพิ่มขึ้น
- อาหารสัตว์สำเร็จรูปขยายตัว 18.11% จากอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารไก่ และอาหารสุกร เป็นหลัก โดยอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวจากตลาดส่งออก (+36.25%) ตามความนิยมในการเลี้ยงสุนัขและแมว จากการหยุดอยู่บ้านในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากค่าสั่งซื้อของตลาดยุโรปขึ้น และส่าหรับอาหารไก่และอาหารสุกร เพิ่มขึ้นตามปริมาณการเลี้ยงของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น
* อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบต่อดัชนีฯ
- ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หดตัว 17.16% จาก Integrated Circuits (IC) และ PCBA เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลก ด้วยความซับซ้อนของสินค้าและมูลค่าต่อหน่วยสูง กระทบต่อปริมาณการผลิต
- ยานยนต์หดตัว 6.82% จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ผู้บริโภคก่าลังซื้อลดลง สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ หดตัวทั้งตลาดในประเทศ (-27.97%) โดยเฉพาะรถปิคอัพที่สะท้อนถึงรายได้ของเกษตรกรที่ลดลง และ ตลาดส่งออก (-6.81%) ตามความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าลดลง
- ปูนซีเมนต์หดตัว 7.39% จากพื้นส่าเร็จรูป และเสาเข็มคอนกรีตเป็นหลัก ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากการเลิกจ่ายงบประมาณล่าช้า และลูกค้ากลุ่มโมเดิร์นเทรดชะลอการลงทุน