ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.51 อ่อนค่า หลังราคาทองร่วงแรง สัปดาห์หน้าลุ้นประชุมดอกเบี้ยเฟด-กนง.

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 7, 2024 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.51 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.41 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.32-36.51 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งระดับปิดตลาดเย็นนี้ เป็นระดับที่อ่อนค่าสุดของวัน โดยช่วงบ่าย ราคาทองคำในตลาดโลกร่วงแรงในช่วงเวลาสั้น ๆ ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่า ซึ่งคาดว่ามาจากมีการเร่งนำเข้าทอง ในช่วง จังหวะที่ราคาลงแรง

สำหรับคืนนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ การรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐ ซึ่งตลาดคาดว่าจะ เพิ่มขึ้น 180,000 ตำแหน่ง

ขณะที่สัปดาห์หน้า ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และการวินิจจัยของศาลรัฐ ธรรมนูญ คดียุบพรรคก้าวไกล ในข้อหาล้มล้างการปกครอง ส่วนปัจจัยต่างประเทศ คือ ผลการประชุมนโยบายการเงิน ของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด)

นักบริหารเงิน ประเมินว่า ต้นสัปดาห์หน้า เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.30-36.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 36.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 155.71 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 36.50 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0895 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,332.74 จุด เพิ่มขึ้น 4.33 จุด (+0.33%) มูลค่าซื้อขาย 40,330.79 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 471.97 ล้านบาท
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) พ.ค.67 เพิ่มขึ้น 1.54% (YoY) โดยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
และถือว่าสูงสุดในรอบ 13 เดือน สาเหตุที่เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยชั่วคราว จากฐานราคาที่ต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าปีก่อนต่ำ
รวมทั้งการสูงขึ้นของราคาในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ กลุ่มเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ ประกอบกับการสูงขึ้นของราคากลุ่มอาหารสด ผักสด และไข่
ไก่
  • ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 12 มิ.ย. ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 2.50% และมี
แนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้ไว้ตลอดทั้งปี พร้อมคาดการณ์ว่า ราวต้นปี 68 อาจเห็นสัญญาณการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในการประชุมกนง. วันที่ 12 มิ.ย.67 กนง. จะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ "คง" อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ต่อเนื่อง และมีแนวโน้มส่งสัญญาณไม่แตกต่างจากผลการประชุมรอบที่แล้ว
  • เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยืนยันว่า กกต.ยังเดินหน้าเลือก สว. ตามกำหนด โดยจะเริ่มเลือก สว.
ระดับอำเภอในวันที่ 9 มิ.ย.นี้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งรับคำร้องไว้วินิจฉัย 4 มาตราของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. พ.
ศ.2561 จะขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่
  • ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) พบว่า นักเศรษฐศาสตร์กว่าครึ่งหนึ่งคาดการณ์ว่า BOJ จะปรับลดการซื้อ
พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นในการประชุมครั้งต่อไปซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ และมีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากขึ้นที่คาดการณ์ว่า BOJ อาจจะ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ค.
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำให้ BOJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก โดยดำเนินการในลักษณะค่อยป็นค่อย
ไป หลังจากที่ BOJ ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีในการประชุมเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของยูโรโซน ขยายตัว
ขึ้น 0.3% ในไตรมาส 1/2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ GDP ของสหภาพยุโรป (EU) ยังขยายตัวขึ้น 0.3% เมื่อเทียบ
รายไตรมาสด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2566 แล้ว เศรษฐกิจของยูโรโซนขยายตัว 0.4% ส่วนเศรษฐกิจ EU ขยายตัว
0.5%
  • ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (Repo Rate) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ
6.5% ในการประชุมวันนี้ (7 มิ.ย.) ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันครั้งที่ 8 และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดย
RBI ยังคงจับตาทิศทางเงินเฟ้อ รวมทั้งสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน หลังจากผลการเลือกตั้งในอินเดียไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
ไว้
  • คืนนี้ ฝั่งสหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ คือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนพ.ค. และ สต็อก

สินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ