ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.83 ระหว่างวันผันผวน ตลาดจับตาประชุมกนง.-เฟด-ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 10, 2024 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.83 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.93 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามภูมิภาคและทิศทางเดียวกับตลาดโลก ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน กรอบระหว่าง 36.81 - 36.93 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ต่างชาติขายพันธบัตรราว 1.2 พันล้านบาท

"วันนี้บาทผันผวน ขณะที่ภูมิภาคค่อนข้างเงียบ บาทกลับลงมาแข็งค่าในช่วงบ่าย ส่วนการปรับตัวลดลงของดัชนีหุ้นในวันนี้ส่งผล กระทบต่อค่าเงินบาทค่อนข้างจำกัด" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.70 - 36.95 บาท/ดอลลาร์

โดยพรุ่งนี้คาดว่าเงินบาทน่าจะแกว่งตัวในกรอบ รอปัจจัยสำคัญกลางสัปดาห์ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 156.81 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 156.85 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0749 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0774 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,318.57 จุด ลดลง 14.17 จุด, -1.06% มูลค่าซื้อขาย 38,377.74 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,564.44 ล้านบาท
  • ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ตั้งเป้าผลักดัน GDP ปี 67 ขึ้นไปแตะ 3% จากคาดการณ์ 2.4% โดยปักธงเร่งผลักดัน 3 แรง
ขับเคลื่อนสำคัญ ท่องเที่ยว-เบิกจ่ายงบภาครัฐ-ลงทุนเอกชน
  • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจใน
เดือนพฤษภาคม 2567 (สำรวจระหว่างวันที่ 23?31 พฤษภาคม 2567) พบว่าดัชนีในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.72 อยู่ใน
เกณฑ์ "ทรงตัว" ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
  • สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเหมืองทองคำทั่วโลกกำลังเผชิญกับความยากลำบากในการรักษาอัตรา
การขยายตัวด้านการผลิตทองคำ ในขณะที่แหล่งแร่ทองคำกลายเป็นสิ่งที่หายากมากขึ้น
  • สัปดาห์นี้ จุดสนใจหลักของนักลงทุนจะอยู่ที่ข้อมูลเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ของสหรัฐฯ รวมถึงการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
(เฟด) ในวันที่ 11-12 มิ.ย.นี้ ซึ่งคาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% และประมาณการดอกเบี้ย (Dot Plot) ชุดใหม่โดยเจ้าหน้า
ที่เฟดมีแนวโน้มส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเพียง 1-2 ครั้งในปีนี้ ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังร้อนแรง นอกจากนี้คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอ
เจ) จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0-0.1% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.นี้
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำให้ BOJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยป็นค่อยไป หลังจากที่ BOJ ได้
ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีในการประชุมเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับแนะนำว่า BOJ ควรใช้กลยุทธ์
การสื่อสารกับตลาดอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นปรับเพิ่มการประเมินตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2567
โดยระบุว่า GDP ไตรมาส 1 หดตัวลง 1.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งดีกว่าการประเมินเบื้องต้นที่ระบุว่า GDP หดตัวลง 2%
  • นักลงทุนในตลาดการเงินมีความวิตกกังวลว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นจะปรับตัวขึ้นอีก และกังวลว่าตลาดพันธบัตรญี่ปุ่น
อาจเผชิญกับความผันผวน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะปรับลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลงจำนวน
มาก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ