ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.76/78 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค ตลาดจับตาผลประชุมกนง.-เฟด-เงินเฟ้อสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 11, 2024 09:21 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.76/78 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.83 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยเมื่อคืนนี้ยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ในวันพรุ่งนี้ ทั้งการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย และการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และตัวเลขเงิน เฟ้อของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.50 - 36.80 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.745 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 157.20 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 156.81 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0767 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0749 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 36.891 บาท/ดอลลาร์
  • นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่
12 มิ.ย.นี้ คาดว่าจะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% หลังแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงิน
เฟ้อยังใกล้เคียงกับคาดการณ์ของทาง กนง. แต่ กนง.อาจเปิดกว้างได้หากเศรษฐกิจชะลอลงกว่าคาดไปมาก เช่น การเบิกจ่ายภาครัฐมี
ปัญหา ภาคการส่งออกยังคงซบเซากว่าคาด รวมถึงอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมายชัดเจน อาจทำให้ กนง.ลดดอกเบี้ยลง
ได้ ซึ่งผู้เล่นในตลาดบางส่วนประเมินว่า กนง. มีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายปีนี้
  • อธิบดีกรมการค้า ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนของ ปี 2567 (มกราคม-พฤษภาคม) ไทยสามารถส่งออก
ข้าวได้แล้วประมาณ 4.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 32.18% มีมูลค่าประมาณ 106,283 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64.59% หรือประมาณ 2,957 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เป็นผลมาจากประเทศผู้นำเข้าข้าวยังคงมีความต้องการนำเข้าข้าวเพื่อเพิ่มสต๊อกข้าวภายในประเทศ และจากสภาพอากาศที่
แปรปรวนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าว ทำให้หลายประเทศกังวลว่าจะมีข้าวไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ในประเทศและ
ได้นำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น โดยประเทศผู้นำเข้าข้าวสำคัญของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย อิรัก สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และแอฟริกาใต้
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (10 มิ.ย.)
หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และผลการประชุม
นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (10 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไรหลัง
จากราคาทองคำร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และผลการประชุมนโยบาย
การเงินของเฟด ในสัปดาห์นี้
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันพุธนี้ (12 มิ.ย.) โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า
ดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนเม.
ย. และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.5% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่
3.6% ในเดือนเม.ย.
  • นักลงทุนยังจับตาผลการประชุมเฟดซึ่งจะมีการแถลงในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตรา
ดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ เฟดจะเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย
นโยบาย (Dot Plot) ของเจ้าหน้าที่เฟด โดยนักลงทุนจับตารายงานเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะ
เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • นักลงทุนพากันเพิ่มคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.ออกไปเป็นเดือนพ.ย. ซึ่ง
จะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกและครั้งเดียวของเฟดในปีนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำ
ให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 51.0% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-
5.50% ในการประชุมเดือนก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 45.0% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ