นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.55 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.68 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่า เมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลักตามบอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวลดลง หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ตลาดคาดการณ์โอกาสที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้อาจมีเพียงครั้งเดียว
ขณะที่ราคาทองในตลาดโลกปรับขึ้นมา 29 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งอาจมีกระแสเงินทุนต่างประเทศ (Flow) ไหลออกจากการส่ง ออกทอง
"บาทกลับมาแข็งค่าตามตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ตลาดจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจังหวะที่จะปรับลดดอกเบี้ย" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.45 - 36.70 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.605 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 157.75 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 157.31/34 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0810 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0750/0753 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.729 บาท/ดอลลาร์
- เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ GDP ปีนี้แตะที่
- ประธานคณะกรรมการการนิคอุตสาหกรรม(กนอ.) เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 5-6 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้นำคณะผู้
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.)
- กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับ
- บิตคอยน์พุ่งขึ้นใกล้ทะลุระดับ 70,000 ดอลลาร์เมื่อวานนี้ ขานรับตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดของสหรัฐ ซึ่งจะเป็นปัจจัย
- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (12 มิ.
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพุธ (12 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด นอก
- นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของสหรัฐในสัปดาห์ โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน