นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.67 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากปิดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.77 บาท/ดอลลาร์
โดยตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น หนุนโดยโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำสามารถรี บาวด์ขึ้นได้เกือบ 20 ดอลลาร์/ออนซ์ ตามการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐ รวมถึงความต้องการถือทองคำเป็นสินทรัพย์ ปลอดภัย ท่ามกลางความวุ่นวายของการเมืองยุโรป มีส่วนช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์มีจังหวะแข็งค่าขึ้นบ้าง
สำหรับสัปดาห์นี้ ควรจับตาสถานการณ์การเมืองไทย และการเมืองยุโรป ที่อาจสร้างความผันผวนในกับตลาดการเงิน พร้อม รอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของประเทศเศรษฐกิจหลัก และผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)
"ประเด็นสำคัญที่ควรจับตาในระยะสั้น คือ สถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งจะมีการพิจารณาคดีการเมืองที่สำคัญ ในวันที่ 18 มิ. ย.นี้ โดยความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมือง อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่รีบกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ไทย" นักบริหารเงิน ระบุ
แนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่าโมเมนตัมการอ่อนค่าได้ชะลอลงบ้าง แต่เงินบาทยังมีความเสี่ยงผันผวนอ่อนค่า ทดสอบ แนวต้านโซน 37 บาท/ดอลลาร์ หากความไม่แน่นอนของการเมืองไทยเพิ่มสูงขึ้น
นายพูน คาดว่า กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 36.55-36.80 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 157.49 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 157.09 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0701 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0687 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.754 บาท/ดอลลาร์
- กระทรวงการคลัง เตรียมหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หาแนวทาง
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (14 มิ.ย.)
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์ก ปิดบวกมากกว่า 1% ในวันศุกร์ (14 มิ.ย.) และปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์เป็นครั้งแรกในรอบ 4
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศสำคัญที่จะเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น เปิดเผยยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนเม.ย., จีนเปิดเผย
ราคาบ้านเดือนพ.ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค., ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค., การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนพ.ค. และอัตรา
ว่างงานเดือนพ.ค. และสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมิ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก