ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.67/68 กลับมาแข็งค่า รับดอลลาร์อ่อนหลังตัวเลขค้าปลีกสหรัฐแย่กว่าคาด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 19, 2024 09:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.67/68 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.83 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่า หลังจากเมื่อคืนนี้ (18 มิ.ย.) มีการ เปิดเผยยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ซึ่งออกมาไม่ค่อยดี ทำให้ตลาดเริ่มมีการคาดการณ์ว่า ปีนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะมีการลด ดอกเบี้ย 2 ครั้ง จากเดิมที่คาดว่าจะลดเพียงครั้งเดียว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.55 - 36.75 บาท/ดอลลาร์

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม คือ อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค. ของอังกฤษ และดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมิ.ย. จาก สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐฯ

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.7325 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 157.72/75 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 158.07 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0739/0743 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0723 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.799 บาท/
ดอลลาร์
  • คณะมนตรี OECD (OECD Council) มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเปิดการหารือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกกับประเทศไทย นับ
เป็นก้าวสำคัญที่ไทยจะมีบทบาทในเวทีโลกและยกระดับประเทศสู่มาตรฐานสากลในทุกมิติ โดยประเทศไทยได้ยื่นต้นฉบับหนังสือแสดงเจต
จำนงในการเข้าเป็นสมาชิก OECD เดือนเมษายน 2567 และได้รับเชิญให้เข้าร่วมหารือวาระพิเศษกับคณะมนตรี OECD ซึ่งไทยได้นำเสนอ
จุดแข็งของประเทศและผลประโยชน์ ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับร่วมกันจากการเข้าเป็นสมาชิกของไทย นับเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของ
ประเทศไทยในการสมัคร เข้าเป็นสมาชิก
  • "ประธานดูไบเวิลด์" จ่อพบนายกฯ 1 ก.ค.นี้ ส่งสัญญาณพร้อมร่วมทุนโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ 1 ล้านล้านบาท ด้าน รฟท.
เล็งชงบอร์ดเคาะลุยรถไฟทางคู่เฟส 2 ล็อตสุดท้าย 3 เส้นทาง
  • ศาลรัฐธรรมนูญไฟเขียวเดินหน้าเลือก สว. มีมติเอกฉันท์ วินิจฉัย 4 มาตราของ พ.ร.ป.การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาไม่ขัด
รัฐธรรมนูญ เลขาธิการ กกต. ประกาศเดินหน้าจัดเลือก สว.ต่อ
  • ภาคธุรกิจวิตกดัชนีท่องเที่ยวไทยร่วง 12 อันดับ ททท.-สทท.ถกด่วน ระดมสมองเร่งผลักดันรัฐ-เอกชนจับมือสร้างความ
พร้อมท่องเที่ยวไทย ฝากความหวังเวทีคณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ จี้ทุกภาคส่วนบูรณาการ ดึงความเชื่อมั่นต่างชาติ
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ถึงการทบทวนกรอบเป้าหมายเงิน
เฟ้อ ว่าอาจจะทำให้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย โดยทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาขยายตัวอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่ต้นทุนการกู้
ยืมที่สูงขึ้น ทั้งนี้ กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปัจจุบันเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในตอนนี้ และมีประสิทธิภาพในการรักษาเสถียรภาพของ
เศรษฐกิจ โดยความเสี่ยงของการปรับขึ้นกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจากช่วง 1-3% ในเวลานี้ก็คือ จะทำให้อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงเพิ่มสูงขึ้น
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.3% หลังจากปรับตัวลง 0.2% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือนพ.ค.
  • หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เครื่องมือ FedWatch Tool ของ LSEG บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับ
ลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แม้เฟดส่งสัญญาณในการประชุมครั้งล่าสุดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในปีนี้ก็ตาม
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (18 มิ.
ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค. ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่ม
พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
  • ยอดค้าปลีกที่ต่ำกว่าคาดยังส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลงสู่ระดับ 4.217% และเป็น
ปัจจัยกดดันสกุลเงินดอลลาร์
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (18 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ต่ำกว่าคาดและเป็นปัจจัยหนุน
การคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า
เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 3.1% ในไตรมาส 2/2567
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน, ยอดขายบ้านมือสอง และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและ
ภาคบริการจากเอสแอนด์พี โกลบอล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ