นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.73 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาด ช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 36.78 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทแข็งค่าจากท้ายตลาด หลังดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ออก มาชะลอลงตาม คาด ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินส่วนใหญ่
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.65 - 36.90 บาท/ดอลลาร์
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ ดัชนีภาคบริการเดือนมิ.ย. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ(ISM)
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.7425 บาท/ดอลลาร์
*ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 160.87 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 160.91 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0748 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0693 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.848 บาท/ดอลลาร์
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยขึ้นราคาน้ำมันดีเซลจ่อดันราคาขนส่งพุ่ง 9% กระทบการขนสินค้าขนาด
- รมว.คมนาคม กางแผน เร่ง พ.ร.บ. SEC เตรียมเสนอ ครม.พิจารณา ก.ย.นี้ คาดสภาไฟเขียว เม.ย.68 พร้อม
- กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือนแรก ปี 2567 ว่า ไทยส่งออกข้าว
- ผลสำรวจภาคธุรกิจที่เผยแพร่ในวันนี้ ระบุว่า ภาคการผลิตของญี่ปุ่นยังคงทรงตัวในเดือนมิ.ย. 67 สะท้อนให้เห็นถึงความ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.อยู่ที่ระดับ 49.5
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (28 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่เป็นไปตามคาดการณ์ซึ่งสนับ
- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (28 มิ.
- ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย เดือนมิ.ย.
จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคบริการเดือนมิ.ย. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและ
อัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนพ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และ
ดุลการค้าเดือนพ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย. จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคบริการเดือน
มิ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) และตัวเลข
จ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.