ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.84 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า จับตาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟด-ตัวเลขศก.สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 2, 2024 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.84 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 36.76 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทอ่อนค่าจากช่วงเช้า ซึ่งเป็นการอ่อนค่าตามทิศทางของค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค โดยตลอดทั้งวันเงินบาทแกว่งตัว ในกรอบแคบที่ 36.76-36.85 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากยังขาดปัจจัยใหม่ที่จะเข้ามามีผลต่อทิศทางของค่าเงิน

ขณะที่คืนนี้ ตลาดติดตามการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนพ.ค. รวมทั้งรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณการปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้ เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.70 - 36.95 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 161.65 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 161.57 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0711 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0733 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,288.58 จุด ลดลง 10.77 จุด (-0.83%) มูลค่าการซื้อขาย 38,274.60 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,751.01 ล้านบาท
  • สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. 67 พบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางเข้ามาประเทศไทย
แตะระดับ 17.5 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 8.25 แสนล้านบาท โดยจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน
(3,439,482 คน) มาเลเซีย (2,435,960 คน) อินเดีย (1,040,069 คน) เกาหลีใต้ (934,983 คน) และรัสเซีย (920,989
คน)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ "นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ" ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดี
อี) ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คนใหม่ แทนนายพิชิต อัคราทิตย์ ประธาน
กรรมการ ก.ล.ต. ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี
  • นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร BNP Paribas และบริษัท SMBC Nikko Securities ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น
โดยระบุว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวในปี 2567 ซึ่งจะเป็นการหดตัวเมื่อเทียบรายปีเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดในปี
2563
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้
บริโภค ชะลอตัวลงสู่ระดับ 2.4% ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 2.7% ในเดือนพ.ค. โดยนับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ดัชนี CPI ของเกาหลี
ใต้อยู่ในระดับต่ำกว่า 3%
  • อัตราเงินเฟ้อประมาณการเบื้องต้นในยูโรโซน ลดลงเล็กน้อยในเดือนมิ.ย.67 แต่ราคาในภาคบริการ ซึ่งเป็นส่วนประกอบ
สำคัญยังคงทรงตัวในระดับสูง ซึ่งอาจทำให้ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) บางรายกังวลว่า แรงกดดันด้านราคาภายใน
ประเทศอาจยังคงอยู่ในระดับสูง
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียน

ของแรงงาน (JOLTS) เดือนพ.ค.ดุลการค้าเดือนพ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย.จากเอสแอนด์

พี โกลบอล, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค. และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ