นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.77 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.68 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าตามทิศทางของเงินหยวน และสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจจีนออกมาไม่ค่อยดี นัก นอกนั้นยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่มีผลต่อค่าเงินมากนัก โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบที่ 36.76-36.88 บาท/ดอลลาร์
คืนนี้ ตลาดรอดูประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ หลายตัว เนื่องจากวันที่ 4 ก.ค. ตลาดทางฝั่งสหรัฐฯ จะหยุดทำ การเนื่องในวันชาติ โดยข้อมูลที่ตลาดให้ความสนใจเพื่อหาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แก่ ตัวเลขจ้างงาน ภาคเอกชนเดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, รายงานการประชุมรอบวันที่ 11-12 มิ.ย. ของคณะกรรมการกำหนด นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC)
"วันที่ 4 ก.ค. เป็นวันชาติของสหรัฐ ทำให้คืนนี้จะมีตัวเลขเศรษฐกิจทยอยประกาศออกมาหลายตัว ซึ่งคาดว่าค่าเงินน่าจะผันผวน ตามโทนของข้อมูลเศรษฐกิจแต่ละตัวที่จะออกมา" นักบริหารเงิน ระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.60-36.90 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 161.88 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 161.60 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0755 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0745 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,294.70 จุด เพิ่มขึ้น 6.12 จุด (+0.47%) มูลค่าซื้อขายราว 27,632.08 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,334.88 ล้านบาท
- ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 67 เหลือโต 2.4% จากที่เคยประมาณการไว้เดิม
- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับเพิ่มกรอบคาดการณ์การส่งออกของไทยในปีนี้ โต 0.8-1.5%
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยสถานการณ์การท่องเที่ยวช่วงครึ่งปีแรก ระหว่างเดือนม.ค.-มิ.ย. 67 จำนวนนักท่อง
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า รายได้จากการจัดเก็บภาษีของญี่ปุ่น ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง ในปีงบ
- ข้อมูลจาก CCData ซึ่งเป็นบริษัทวิจัย ระบุว่า ราคาบิตคอยน์ ยังไม่ได้แตะจุดสูงสุดของวงจรในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่า
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน เดือนมิ.ย.67 อยู่ที่ระดับ 50.9
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิ.ย.67 ของจีน ชะลอตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน และความ
เชื่อมั่นของภาคบริการในเดือนมิ.ย. ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน โดยถูกกดดันจากยอดสั่งซื้อใหม่ที่อ่อนแอลง