ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.66 กลับมาแข็งค่า รับดอลลาร์อ่อนคาดเฟดลดดอกเบี้ยหลังเศรษฐกิจชะลอ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 4, 2024 09:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.66 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.77 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกที่ดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลักยก เว้นเยน และบอนด์ยีลด์ปรับตัวลดลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาเมื่อคืนนี้แย่ลงทุกรายการ ทั้งตัวเลขการจ้างงาน ของภาคเอกชน ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ ดัชนี ISM ภาคบริการ ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มี แนวโน้มที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3/67

ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดรอดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) จากการส่งออกทองคำ หลังราคาทองในตลาดโลก เมื่อคืนปรับขึ้นกว่า 30 ดอลลาร์/ออนซ์

"บาทกลับมาแข็งค่าตามทิศทางตลาดโลก หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทุกรายการออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ตลาดคาดว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยในไตรมาสนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.50 - 36.80 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.6300 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 161.53 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 161.88 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0755 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.831 บาท/ดอลลาร์
  • รมช.คลัง กล่าวว่าจากกรณีที่ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยล่าสุดเติบโตเพียง 2.4% จาก
เดิม 2.8% นั้น ยอมรับว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงมีปัญหา ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการกระจายเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในปี
2567 รัฐบาลได้พยายามดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 3%
  • นายกฯ ต้อนรับ "DP World" นักธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลกด้านโลจิสติกส์ เร่งหารือโอกาสลงทุนในไทย ชูจุดแข็งด้าน
ภูมิศาสตร์เชื่อม 2 ฝั่งมหาสมุทร มั่นใจเป็นสัญญาณบวกผลักดันเมกะโปรเจกต์ "แลนด์บริดจ์" คาดผ่านการพิจารณาของสภาฯ ช่วง เม.ย.2568
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จีไอที เปิดเผยว่า ยอดการส่งออก
ทองคำเดือน พ.ค.67 มีมูลค่า 582.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาเพิ่มขึ้น 135.39% หลังจากราคาทองคำเริ่มนิ่งและผันผวนลดลง ทำให้มี
การส่งออกไปเก็งกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งเดือน มี.ค.และ เม.ย. การส่งออกทองคำลดลงอย่างมากนับร้อย
เปอร์เซ็นต์ เพราะผู้ส่งออกกลัวความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา
  • "ก้าวไกล" ลุ้นต่อลากยาวศาลรัฐธรรมนูญ นัดพิจารณาต่อใหม่ 17 ก.ค. คดี กกต.ยื่นยุบพรรคก้าวไกล ปมปฏิปักษ์การ
ปกครอง ให้รอผลการตรวจพยานหลักฐาน 9 ก.ค.ก่อนหมดลุ้นไต่สวนยุบพรรค
  • ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 150,000 ตำแหน่ง
ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 160,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่ม
ขึ้น 157,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค.
  • สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 48.8 ในเดือนมิ.ย. ซึ่ง
เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 จากระดับ 53.8 ในเดือนพ.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 52.5
  • หลังสหรัฐเปิดเผยรายงานดังกล่าว ข้อมูลจาก LSEG FedWatch บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 70% ที่เฟดจะปรับลด
อัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (3 ก.ค.) หลัง
สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจและแรงงานชะลอตัวลง ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประ
ชุมเดือนก.ย. ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอก
เบี้ยของเฟด
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 1% ในวันพุธ (3 ก.ค.) ขานรับการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจและแรงงานที่อ่อนแอเกินคาด
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงาน
จะเพิ่มขึ้น 189,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 272,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ
4.0% ในเดือนมิ.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ